ข้าพเจ้า นายปิยวัฒน์ สมสะอาด ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลโคกล่าม
อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด
ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ทีม U2T ตำบลโคกล่าม ได้มีการจัดประชุมออนไลน์ผ่าน Line group video call  เนื่องด้วยในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ดังนั้นจึงให้ทุกตำบล u2t เฟส 2 มาร่วมออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ได้ 10% ตามที่โครงการกำหนด โดยจะเริ่มออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในวันที่ 14-18 กันยายน 2565

 วันที่ 31 สิงหาคม 2564 ทีม U2T ตำบลโคกล่าม ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของถุงบรรจุภัณฑ์ดินปลูกผ่าน Application line และสั่งผลิตถุงบรรจุภัณฑ์ดินปลูกเพื่อนำมาจัดจำหน่าย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 วันที่ 2 กันยายน 2565 ทีม U2T ตำบลโคกล่าม ได้มีการนัดประชุมเพื่อร่วมกันเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นในเรื่อง การจัดทำรูปเล่มรายงานและการแบ่งงานในการออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การจัดทำรูปเล่มรายงาน มีองค์ประกอบ 8 ส่วน คือ
1) ข้อมูลพื้นฐานของตำบล
2) การบริหารโครงการและการดำเนินการโครงการ
3) การประเมินศักยภาพตำบล
4) บทสรุปและข้อเสนอแนะโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
5) ผู้ปฏิบัติงาน
6) การต่อยอดพัฒนาตำบล พร้อมประประเมินวิเคราะ์ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประเทศ
7) การวิเคราะห์ข้อมูล CBD
8) ความสำเร็จของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้มีการ
ทาง U2T ตำบลโคกล่าม จึงได้แบ่งภาระงานดังนี้ รายงานงานในส่วนที่ 1,5,7 ประเภท ประชาชนรับผิดชอบ และรายงานในส่วนที่ 2,3,4,6,8 ประเภท บัณฑิตรับผิดชอบ

การออกบูทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 ทาง U2T ตำบลโคกล่าม ได้มีการแบ่งภาระงานดังนี้
วันที่ 14,18 เนื่องจากเป็นเตรียมงานและเก็บงาน จึงมีความเห็นตรงกันว่า ให้ U2T ตำบลโคกล่ามไปช่วยกันทั้ง 10 ท่าน
วันที่ 15-17 ให้ U2T ตำบลโคกล่าม ไปจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์วันล่ะ 5 ท่าน สลับวันกันไป

 

วันที่ 5-6 กันยายน 2565 U2T ตำบลโคกล่าม ลงพื้นที่ปฏิงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ตำบลโคกล่าม (กศน.ตำบล) เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน นอกจากนี้ยังได้มีการระดมความคิดกับชาวบ้านในเรื่อง วิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน, การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน, ผู้แทนที่ประชาชนพึงประสงค์ เป็นต้น