ข้าพเจ้านายสุวรรณ์ วัชรินทร์ ได้เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG ) ตำแหน่งภาคประชาชน ประจำตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การลงพื้นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อเนื่องจากเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน
วันที่ 22 สิงหาคม 2565 ได้ไปส่งหนังสือเข้าอบรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ให้กับผู้นำชุมชนทุกหมู่ ในตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ประชุมทีมงานจัดเตรียมความพร้อมในการจัดอบรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ตำบลถลุงเหล็ก และได้รวมกลุ่มทำ C-04
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม
วันที่ 27-28 สิงหาคม 2565 จัดอบรมผ้าฝ้าย ซึ่งทีมงานได้เตรียมอุปกรณ์ผ้าฝ้าย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทำ สำหรับสินค้าที่ทำจากผ้าฝ้ายของเรา เช่น กระเป๋า รองเท้า กระเป๋าใส่พวงกุญแจ หูหิ้วแก้ว ส่วนวิทยากรก็เอาคนในพื้นที่ให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม และสอนการทำในทุกขั้นตอนของตัวผลิตภัณฑ์แต่ล่ะตัว ผลงานตัวผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจของทุกคนและทีมงาน
วันที่ 29 สิงหาคม 2565 ทีมงานได้ไปส่งหนังสืออบรมปุ๋ย ให้กับผู้นำชุมชนในตำบลถลุงเหล็ก
วันที่ 1 กันยายน 2565 อาจารย์นัดประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดอบรมการยกระดับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์
วันที่ 2 กันยายน 2565 ทีมงานได้ลงพื้นที่จัดเตรียมถานที่ที่ใช้ในการอบรม ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร หมู่ 16 ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 3-4 กันยายน 2565 จัดอบรมปุ๋ยและได้เชิญวิทยากรผู้เชียวชาญในการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ และคนในชุมชนให้ความร่วมมือดีมาก เพราะการทำปุ๋ยใช้เองมีผลดีในการ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับครอบครัว ลดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากมาก เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ
วันที่ 5-9 กันยายน เป็นสัปดาห์ ECT WEEK ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย(ศส.ปชต.) ณ ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยเพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
-เป็นศูนย์กลางพัฒนาประชาธิปไตย
-ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง
-ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตย
-พัฒนาต่อยอดการสร้างและขยายเครือข่ายพลเมือง
-สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย เนื่องจาก เวลาที่มีกิจกรรมในหมู่บ้าน หรือมีนโยบายต่างๆก็ต้องมีการลงประชามติ หรือ มีการประชุมประจำเดือน มีการฟังเสียงข้างมาก อย่างมีเหตุและผล ชาวบ้านมีสิทธิและเสรีภาพในการออกความคิดเห็น การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการเมืองทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้นำชุมชนผู้ใหญ่บ้าน การเลือกตั้ง อบต. หรือเลือกกำนัน ลักษณะผู้แทนทางการเมือง ที่ชาวบ้านต้องการ คือ ต้องการผู้แทนที่มีความรู้ความสามารถ มีเหตุมีผล มีจิตสาธารณะคิดเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีใจพร้อมรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ
การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยชาวบ้านในตำบลได้มีการทำเกษตรในครัวเรือน มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันในชุมชน โดยยึดหลักความพอเพียง คือมีการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และฉลาดซื้อฉลาดใช้ จดรายการของที่จำเป็นต้องซื้อและเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ จดบัญชีรายรับ-รายจ่าย อย่างสม่ำเสมอ และมีเป้าหมายในการออม
วันที่ 11 กันยายน 2565 ทีมงาน U2T ได้ประชุมวางแผนในการออกบูธ
วันที่ 14 กันยายน 2565 ออกจัดสถานที่จัดบูธ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และทำเอกสาร C-05
วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ออกบูธ ทีมงานได้นำสินค้าของชุมชนไปจำหน่ายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในงาน U2T for BCG BRU Fair มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล สินค้าแต่ล่ะตัวราคาถูกมากเลยสามารถจับต้องได้อย่างสบายกระเป๋า
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า อนาคตข้างหน้าจะมีโครงการดีๆ มาลงในพื้นที่ตำบลถลุงเหล็ก ของเราอีก