ข้าพเจ้า นางสาวรัชนก มัตทะปะนัง ประเภท ประชาชน พื้นที่ปฏิบัติงาน ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัด การปฏิบัติงานในเดือนกันยายน 2565 นี้ ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามกิจกรรม ECT Week โดย เข้าพบกรรมการ ศส. ปชต. ณ ที่ทำการ ศส. ปชต. เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส. ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนโดยศึกษารายละเอียดจากใบความรู้ เพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน
บทบาทหน้าที่ กก.ศส. ปชต.
คณะกรรมการ ศส.ปชต. มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการ ศส.ปชต. ให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในตำบล เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างแก่ตำบลอื่นๆ ที่จะจัดตั้ง ศส.ปชต. ในปีต่อไป
- การบริหารจัดการศูนย์
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ภายใต้กรอบความคิดว่า ประชาธิปไตยควรสร้างขึ้นจากคนในท้องถิ่น (ชุมชน) เพื่อสร้างให้ท้องถิ่นมีวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และเป็นการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนเป็นสมาชิกของสังคมที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ให้มีความรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นเคารพความเห็นต่าง ความเสมอภาค กติกา หรือกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมโดยเริ่มที่ตนเอง เมื่อสมาชิกในชุมชนมีความเป็นพลเมืองจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย
- การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย เป็นการให้ความรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตย ให้บุคคลมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย อันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมและส่วนรวม ต่อต้านพฤติกรรมทุจริต คอร์รัปชัน และการซื้อสิทธิขายเสียง
- ขยายเครือข่ายพลเมือง
กรรมการ ศส.ปชต. ไม่อาจปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จโดยลำพัง จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายในพื้นที่ตำบล หมู่บ้าน ร่วมเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การปฏิบัติงาน เข้าถึงได้ทุกพื้นที่ และมีความต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในการให้ความรู้ การรณรงค์ การร่วมปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง และการเป็นเครือข่ายข่าวในการเลือกตั้ง
- ส่งเสริมหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตย
การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านหรือชุมชนประชาธิปไตย
- ส่งเสริมกินกรรมประชาธิปไตย
การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา ต้องยึดหลักเกณฑ์ กฎ กติกา ที่เป็นที่ยอมรับในการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยก็มีหลักการประชาธิปไตยให้ยึดถือปฏิบัติ หลักการ หรือ กฎ กติกา ถือเป็นหลักให้สมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นในสังคม การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลก็ต้องอยู่ภายใต้กฎ กติกาที่มีอยู่ ตลอดจนไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
- มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งแต่ละครั้งจะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนทุกคนถือเป็นวาระแห่งชาติ จะมอบให้ใคร หรือองค์กรใดดำเนินการตามลำพังไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติในคราวการประชุมครั้งที่ ๑๑๒/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ เห็นชอบ เรื่อง การขับเคลื่อนศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๘ ตามนโยบาย ดร.ประวิช รัตนเพียร กรรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบด้านกิจการการมีส่วนร่วมเสนอโดยให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล ๑ อำเภอ ๑ ศส.ปชต. และทำตามบันทึกตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ร่วมกันพิจารณาจากตำบลที่มีพื้นฐานความเข้มแข็งของชุมชนจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนดี มีพื้นฐานความเข้มแข็งในเรื่องการทำกิจกรรมสามารถพัฒนาให้เป็นแบบอย่างแก่ตำบลอื่น ๆ ได้ ๒.ผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน ตำบล มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการสนับสนุนภารกิจของศูนย์ และที่สำคัญ คือมีแนวความคิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมุ่งเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ต้องการได้รับการพัฒนาไปข้างหน้า ๓. พลเมืองอาสาพัฒนาประชาธิปไตย ที่มีความรู้ความสามารถ มีความพร้อมและความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน ๔. ครู กศน.ตำบล มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบลได้เป็นอย่างดี ๕. มีสถานที่ หรืออาคาร ที่สามารถรวมกลุ่มประชุมหรือ จัดกิจกรรมรวมกันได้ตามความเหมาะสม หรือสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตำบล