ดิฉันนางสาวดนุนุช จันทพร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยได้รับผิดชอบพื้นที่ตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างหางานหรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืนโดยดิฉันจะเข้าไปทำงานกับชุมชนที่ ตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นระยะเวลา 3 เดือน
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ดิฉันและทีมผู้ปฏิบัติงานกลุ่มตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงสำรวจสถานที่ที่จะจัดทำการอบรม และทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆที่จะนำมาทำน้ำสมุนไพร ณ ศาลาประชาคม บ้านหนองกะทิงหมู่ที่ 11 ตำบลหนองกะทิง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 27 สิงหาคม 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงาน อาจารย์ประจำตำบล และวิทยากรจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ลงพื้นที่จัดอบรมให้กับชาวบ้านในชุมชน “กลุ่มน้ำสมุนไพร บ้านหนองกะทิง หมู่ที่ 1” เพื่อจัดอบรม และเผยแพร่ความรู้ในการใช้กรรมวิธีการผลิตน้ำสมุนไพรอย่างไรให้ออกมามีคุณภาพที่ดี รสชาติอร่อย และสามารถยืดอายุของน้ำสมุนไพรบางชนิดให้มีอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานยิ่งขึ้นโดยวิธีธรรมชาติที่สะอาดและปลอดภัย และยังได้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการผลิต จัดเตรียมสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมออกบูธจำหน่ายสินค้าในงานมหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ “U2T for BCG BRU FAIR” เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน จากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อนำสินค้าออกสู่ตลาดตามโครงการ U2T จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เปลี่ยนอนาคตคนและชุมชนไทย
และวันที่ 5-9 กันยายน 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองกะทิงได้เข้ารับการอบรมจากคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระทิง เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่และการดำเนินการของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) และได้ลงพื้นที่เผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ชาวบ้านในชุมชนตำบลหนองกะทิง เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัว วิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวันและการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต
จากการลงพื้นครั้งนี้พบว่า ชาวบ้านในชุมชนให้ความสนใจและให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ชาวบ้านมีความตั้งใจในการรับฟังการอบรม และมีการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในเรื่องของประชาธิปไตยซึ่งเป็นไปตามวัตุประสงค์ของคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.)