ข้าพเจ้านายวิษณุกร บุ้งทอง ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) คณะมนุษยศาสตร์ฯ อำเภอลำปลายมาศ ตำบลเมืองแฝก HS10-1

ข้าพเจ้านายวิษณุกร บุ้งทอง ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ได้ลงพื้นที่และปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันที่ 22 สิงหาคม 2565

ได้ถวายปัจจัยจำนวนหนึ่งเพื่อสมทบทุนทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ.โคกว่าน ต. หนองโสน อ. นางรอง จ. บุรีรัมย์ เพื่อหวังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ตามรอยพ่อหลวง ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อต้องการให้ อ.นางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงาน และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมด้วย โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมการทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ และเป็น  Social Lab  ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข

วันที่ 5-9 กันยายาน 2565

ได้เข้าร่วมกิจกรรม  ECT WEEK ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด (กศน.จังหวัด) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ (กศน.อำเภอ) ครูประจำศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล (กศน.ตำบล) และกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการ U2T  ภายใต้กิจกรรม ECT WEEK ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T BCG ) ระยะที่สอง

และได้เข้าพบตัวแทน ศส. ปชต. ทั้งสองท่าน ได้แก่ นายธนากร ศักดานุศาสน์ และ นายทนงศักดิ์ แสมรัมย์ เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนโดยศึกษารายละเอียดจากใบความรู้ เพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน

จากนั้นได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านในตำบลเมืองแฝก

จากนั้นได้ศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ 20 ep จาก application CIVIC EDUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (16 ข้อ) จะได้รับใบ Certificate ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ โดยผ่านการอบรมและได้ร่วมทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 80% ได้รับใบ Certificate เป็นที่เรียบร้อย

วันที่ 10 กันยายน 2565

ได้เข้าอบรม หัวข้อการตลาดออนไลน์ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองครก ตำบลเมืองแฝก ซึ่งมีร้อยตรีอานนท์ ด่านดอน เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การตลาดออนไลน์ หรือ Online Marketing (ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง) คือการทำงานเพื่อส่งเสริมธุรกิจหรือบริษัทในสื่อออนไลน์ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการในธุรกิจให้กลายเป็นที่รู้จักและเป็นที่สนใจ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ มากขึ้นนั่นเอง การทำการตลาดออนไลน์ที่รู้จักกันทั่วไป เช่น โฆษณาบน Google, Facebook, YouTube หรือแม้แต่การทำบล็อก (Blog)

ในปัจจุบันสื่อออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่ง ซึ่งช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ยอดขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ดีเป็นอย่างมาก ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่หันมาใช้การตลาดออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการทำการตลาดออนไลน์มีประโยชน์และข้อดีต่อธุรกิจหลายอย่าง ดังนี้

  1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย

สื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่มีผู้ใช้งานมากขึ้นในทุกๆ วัน และผู้คนก็ใช้เวลาอยู่ในออนไลน์มากขึ้นด้วย ทำให้การประชาสัมพันธ์ไปถึงลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็ว รวมถึงการมีเทคโนโลยี AI ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถระบุรายละเอียดของกลุ่มลูกค้าได้ เช่น ระบุเพศ ช่วงอายุ พื้นที่อยู่อาศัย สิ่งที่สนใจ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือตัวกรองที่ส่งผลให้การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ส่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าที่แท้จริง นับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้มากยิ่งขึ้น

  1. มีความหลากหลายในเนื้อหา

การตลาดออนไลน์สามารถผลิตโฆษณาได้หลายรูปแบบ เนื่องจากเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคสามารถรับได้ทั้งภาพและเสียง จึงมีโอกาสดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า อีกทั้งยังสามารถเข้าชมเมื่อไหร่ก็ได้ หากมีเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียที่โดดเด่น น่าสนใจ และหาข้อมูลได้ง่าย ก็ยิ่งทำให้ผู้ที่สนใจในสินค้าหรือบริการเกิดความประทับใจ และตัดสินใจซื้อได้อย่างง่ายดายขึ้นอีกด้วย

  1. วัดผลได้อย่างแม่นยำและน่าเชื่อถือ

เนื่องจากเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจสามารถตรวจสอบข้อมูลจากลูกค้าหรือผู้ใช้ได้ เช่น ช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึง จำนวนคนที่สนใจหรือมีส่วนร่วม จำนวนและข้อมูลลูกค้าที่ซื้อ จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อธุรกิจได้ เพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพของสิ่งที่ลงทุนไป ว่าทำกำไรกลับมาตอบแทนได้คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร และจะวางแผนการตลาดในอนาคตต่อไปอย่างไรนั่นเอง

  1. ลดค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็น

การตลาดออนไลน์ช่วยลดต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ได้หลายส่วน โดยเฉพาะด้านงานสิ่งพิมพ์ เช่น การปรับให้สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น แคตตาล็อก โบรชัวร์ ใบปลิว หรือไวนิล ซึ่งปกติจะใช้ประชาสัมพันธ์แบบออฟไลน์ สามารถลดจำนวนและเปลี่ยนมาใช้แบบออนไลน์บนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียได้ ทำให้เข้าถึงง่าย เปิดดูได้สะดวก อีกทั้งยังอัปเดตข้อมูลเหล่านี้ได้อยู่เสมอโดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณในจำนวนมากอีกด้วย

  1. เป็นการสื่อสารสองทาง

ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการแต่ละครั้ง หากผู้ที่สนใจเกิดความสงสัยหรืออยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม การทำการตลาดออนไลน์จะตอบโจทย์ของปัญหานี้มาก เนื่องจากลูกค้าและเจ้าของธุรกิจสามารถสื่อสารกันได้ในทันที ไม่ต้องรอไปสอบถามถึงหน้าร้าน ยิ่งลูกค้าได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจรวดเร็วและพึงพอใจมากเท่าไร ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นการสื่อสารสองทางนับว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก

วันที่ 12 กันยายน 2565

ได้เข้าร่วมการอบรมการอบรม SHOPEE E-MARKETPLACE สำหรับโครงการ U2T for BCG หัวข้อ “สร้างร้าน Shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว” โดย คุณธันย์ธนัช วัชรานุวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญจาก Shopee (Thailand) ซึ่งในการอบรมเป็นการให้ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้

e-Marketplace หรือ Electronic Marketplace คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เชื่อมโยงผู้ซื้อ และผู้ขายที่เป็นบุคคลภายนอกสามารถทำการตลาด ขายผลิตภัณฑ์ของตนบนแพลตฟอร์ม และสามารถออกใบกำกับสินค้า ให้ลูกค้าสำหรับการซื้อโดยตรง เป็นส่วนของอีคอมเมิร์ซที่เจ้าของตลาดไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าคงคลัง หรือออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าสำหรับการซื้อ แต่ e-marketplace ทำหน้าที่นำเสนอสินค้าของผู้ขายรายอื่นแก่ผู้บริโภค และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมตัวอย่างเช่น Amazon และ eBay ที่เป็นหนึ่งในตลาด e-marketplace เจ้าแรก ๆ

ในทางกลับกัน e-Commerce หรือ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ขายรายเดียวคือ ร้านค้าออนไลน์ที่มีแบรนด์เดียว หรือหลายแบรนด์ซึ่งขายสินค้าของตัวเอง คล้ายกับร้านค้าปลีกที่มีหน้าร้านจริง ซึ่ง ไม่มีตัวเลือกสำหรับแบรนด์ ผู้ขาย หรือผู้ค้าปลีกรายอื่น ในการลงทะเบียนเพื่อขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

จากแคมเปญ Shopee 11.11 Big Sale เมื่อปีที่ผ่านมาทำให้มียอดขายกว่า 11 ล้านชิ้น ภายใน 5 นาทีแรก ซึ่งสินค้าที่ไดรับความนิยมมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ซักรีด, อุปกรณ์ทำความสะอาด, อุปกรณ์เสริมมือถือ, ผลิตภัณฑ์ห้องครัว และห้องอาหาร ทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่สินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมในการซื้อผ่านทางออนไลน์ แต่ในปัจจุบันพบว่าคนไทยนิยมซื้อทุกอย่างบน Shopee ทำให้เห็นว่าคนไทยเริ่มเปิดใจ และมีมูลค่าในการใช้จ่ายต่อการซื้อออนไลน์ด้วยมูลค่าที่มากขึ้นอย่าง Shopee 11.11 ที่ผ่านมากมีการใช้จ่ายภายใน 1 ออเดอร์มูลค่าสูงถึง 180,000 บาท ซึ่งเป็นสินค้าหมวดหมู่แล็ปท็อป และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

ที่สำคัญการเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee ทำให้เราสามารถเข้าถึงประชากรทั่วประเทศในหลากหลายกลุ่มช่วงอายุ ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดียที่มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานอย่างชัดเจนแต่ใน Shopee มีกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทำให้เป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์ในการลองขายสินค้า และทำการตลาดบนแพลตฟอร์มของ Shopee

การทำการตลาดบนแพลตฟอร์ม Shopee เราจะทำการตลาดผ่านฟีเจอร์ที่เรียกว่า Marketing Centre คือศูนย์รวมเครื่องมือส่งเสริมการขายที่ช่วยให้ร้านค้าบรรลุ 3 จุดประสงค์หลักของการทำการตลาด

  • ช่วยกระตุ้นยอดขาย
  • สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ซื้อ
  • เพิ่มการจำนวนเข้าชมร้านค้า

แคมเปญของ Shopee คือ แคมเปญที่รวมสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วม และโค้ดส่วนลดต่าง ๆ ไว้ในหน้าแรกของ Shopee ท่านสามารถตรวจสอบเป็นประจำว่ามีแคมเปญของ Shopee หรือแคมเปญโค้ดส่วนลดใดที่เหมาะจะนำเสนอสินค้าเพื่อเข้าร่วมหรือไม่ ซึ่งแคมเปญอย่าง 9.9, 11.11 ก็อยู่ในส่วนนี้ร้านค้าทั่วไปสามารถเสนอสินค้าของตนเพื่อเข้าร่วมแคมเปญได้เช่นกัน

วันที่ 14 -15 กันยายน 2565

ผู้เขียนและชาว U2T ได้ระดมความคิดจัดทำแบบสรุปโครงการ ECT for Week โดยทำเป็นรูปเล่มรายงาน  และทำเป็นไฟล์รายงานเพื่อส่งให้คุณประภาพร สังข์รัมย์ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย ก่อนที่จะนำรายงานสรุปฉบับจริงไปส่งที่ศูนย์ กศน.อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ หมู่ที่ 7 ถนนสหนพมาศ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเจ้าหน้าที่นำโดยคุณประภาพร สังข์รัมย์เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย ก่อนที่จะนำส่งที่ศูนย์ กศน.ส่วนกลาง

วันที่ 17 กันยายน 2565

ผู้เขียนได้ร่างบทความและใบรายงานผลปฏิบัติงาน จากนั้นส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย ก่อนที่จะอัพโหลดลงในเว็บไซต์ http://u2tbcg.bru.ac.th/ เพื่อให้คนที่สนใจได้เข้ามาอ่าน จากนั้นนำใบรายงานผลปฏิบัติงานไปส่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งให้ส่วนกลาง ซึ่งก็คือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ใช้ในแผนพัฒนาตำบลต่อไปในอนาคต