ข้าพเจ้านาย ดุสิต บุผาโต ประเภทประชาชน (AG12-2) ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
กับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development )
เดือนกันยายน 2565 กับการทำงานเดือนที่สามในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development ) จะเป็นการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้เกิดการต่อยอดกับโครงการ U2T for BCG and Regional Development โดยเดือนนี้จะเป็นการวัดผลลัพธ์จากการได้ลงพื้นที่เพื่อไปพัฒนาสูตรขนมฝักบัวและขนมดอกจอก ให้เป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เด่นให้เป็นที่รู้จักว่าขนมหน้าตาแบบนี้รสชาติแบบนี้เป็นของมาจากตำบลบ้านแวง รวมถึงเครื่องจักสานของตำบลบ้านแวงว่าจะขายได้หรือไม่
การทำงานในเดือนกันยายนถือว่าเป็นการทำงานแบบอัดเต็มที่เพื่อเข้าเส้นชัย ทั้งการปรับปรุงสูตรขนมให้นิ่ง ทั้งอบรมกลุ่มแม่บ้านในการทำขนม ทั้งอบรมการจักสาน และการอบรมในการออกแบบบรรจุภัณฑ์การทำแบรนด์โลโก้ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างคือการเร่งรีบเพื่อที่จะได้ทดลองตลาดในเดือนสุดท้ายของการทำงาน จนมาได้ทดลองขายของโดยการออกบูธขายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทั้งหมดทั้งมวลถือว่าเป็นความสำเร็จในระยะเวลาสามเดือน ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็เกิดจากการร่วมมือกันในทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นก็จะได้ความสำเร็จตามเนื่อผ้า อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่านี่คือก้าวแรกของการเริ่มต้นเข้าไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชน ในเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของเฟสสองจึงอยากเล่าถึงจุดที่ควรนำไปปรับปรุงแก้ไขในเฟสต่อไปเพื่อให้ได้งานออกมาอยู่ในระดับที่ดีเยี่ยมให้ได้
กับความเร่งรีบในการเร่งทำงานในระยะเวลาสามเดือนในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านแวง เราได้พัฒนาขนมดอกจอกให้มีรสชาติอร่อยและมีกลิ่นเฉพาะ โดยการเติมผงเผือกก็จะได้กลิ่นเผือก การเติมผงโกโก้ก็ได้กลิ่นโกโก้ การเติมผงสตอเบอรรี่ก็ได้กลิ่นสตอเบอรี่ แต่ก็เป็นกลิ่นที่ออกไม่ชัดเจนเท่าไรคงยังต้องปรับปรุงอีกหากมีเวลา ขนมฝักบัวก็พัฒนาแบบใช้การปั่นใบเตยลงผสมจะได้ขนมฝักบัวที่มีเส้นใยอาหารและกลิ่นใบเตยที่ชัดเจนใช้ข้าวตาแฮกเป็นแป้งก็จะได้ขนมฝักบัวที่เป็นเอกลักษณ์ได้ ส่วนจักสานจะยังคงเป็นแบบดั้งเดิมเพิ่มเติมคือสีสันยังต้องพัฒนาต่อยอดไปอีกเยอะเพื่อให้ได้ความละเอียดของงานที่สวยงามและมีมูลค่า จึงบอกได้เลยว่าระยะเวลาเพียงสามเดือนจะยังไม่พอกับการพัฒนาแบบจริงจัง เพราะทุกอย่างการพัฒนาต้องเกิดแบบต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้ความทันสมัยตรงกับความนิยมของคนตลอดเวลา
ในตำบลบ้านแวงก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอีกมากแต่ด้วยระยะเวลาจำกัดผลิตภัณฑ์บางอย่างก็ไม่เหมาะสมที่จะเอามาพัฒนาในเวลาจำกัดนี้ หากมีโอกาสโครงการมีเฟสสามต่อเนื่องผลิตภัณฑ์ในชุมชนก็จะถูกยกระดับขึ้นมาแบบต่อเนื่องเช่นกัน ถ้าในชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เกิดความต่อเนื่องของโครงการลูกหลานในชุมชนคงมีโอกาสได้หวนกลับมาทำงานในพื้นที่ ได้มีโอกาสดูแลพ่อแม่ผู้สูงอายุในชุมชน ก็จะเป็นผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจทีเกิดขึ้นในชุมชนส่งผลให้สังคมได้อยู่กับแบบมีความสุขต่อไป