โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
บทความประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2565
ตำบลท่าม่วง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อโควิดสร้างผลกระทบอย่างหนักให้กับธุรกิจขนาดใหญ่และการจ้างงาน ส่งผลให้ “ลูกจ้าง” หลายคน “ตกงาน” แบบไม่ทันตั้งตัว ส่วนบางคนแม้ได้ไปต่อ แต่ก็ถูก “ลดเงินเดือน” ขณะที่รายจ่ายยังคงเดิม แต่เมื่อเงินในกระเป๋าสตางค์ลดลง อาชีพ “ขายของออนไลน์” กลายเป็นหนทางหนึ่งที่น่าสนใจในการหารายได้ต่อลมหายใจแต่การจะเริ่มต้นเป็น “พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์” มือใหม่ให้ขายดี มีรายได้เพียงพอนั้นอาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่ตั้งใจจริง การขายของออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) เป็นการดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนและกระบวนการดำเนินงานให้น้อยลง แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพการขายสินค้าได้อย่างทั่วถึง สามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก จนวันนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2020 มีมูลค่าเติบโตสูงถึงกว่า 2 แสนล้านบาท แม้เป็นเรื่องจริงที่ว่า วันนี้ใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างง่ายดายเพราะมีแพลทฟอร์มมากมายให้เลือกเชื่อมต่อหาลูกค้าที่ไหนก็ได้บนโลกนี้ แต่ความจริงยิ่งกว่านั้นก็คือ อีคอมเมิร์ซ ถือเป็น Red Ocean หรือ “น่านน้ำสีแดง” ที่แข่งขันสุดดุเดือด แม้จะเข้าง่าย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกคนที่เข้ามาจะประสบความสำเร็จ
อีกทั้งต้องมีบริการหลังการขายที่ดี กล่าวคือต้องใส่ใจลูกค้าและรับผิดชอบหากเกิดกรณีผิดพลาด เช่น หากส่งสินค้าผิดหรือสินค้าเสียหาย (จากต้นทางที่ร้าน) อาจรับผิดชอบโดยการโอนเงินคืนให้ลูกค้าหรือเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ฟรี เป็นต้น อย่าทำให้กลายเป็น “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เพื่อเป็นการมัดใจลูกค้าให้กลับมาอุดหนุนเราอีกในอนาคต
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการโปรโมทหรือทำการตลาดออนไลน์ในช่องทางต่าง ๆ มากมายสักเท่าไร แต่ก็อย่าลืมพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ และจัดส่งให้ถูกต้องตรงต่อเวลาด้วย เพราะความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำธุรกิจ นอกจากจะมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัดได้แล้ว ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มยอดขายให้คุณได้อย่างเกินความคาดหมายด้วย
ผู้เขียนบทความ นางสาวปวีณา สุนทรารักษ์
คณะวิทยาศาสตร์ SC13-2
ประชาชน
วีดีโอประจำตำบลท่าม่วง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์