บทความประจำเดือนกันยายน  2565

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

HS12-2 ตำบลถนนหัก

ข้าพเจ้า นางสาวศิริมา  รักษาเดช ประเภท ประชาชนทั่วไป ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงอัตลักษณ์สู่การเพิ่มมูลค่าของตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  

จากเดือนที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนคอยซัพพอร์ตและช่วยเหลือทีม

วันที่ 23 สิงหาคม 2565

ได้มีการจัดเวทีวิเคราะห์ปัญหาที่องค์การบริหารส่วนตำบลถนนหักโดยมี นาย จารึก คนชุม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมกับคณะบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าร่วมกล่าวตอนรับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ในลำดับต่อไป กล่าวชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์โครงการโดย อาจารย์ดร.คคนางค์ ช่อชู หัวหน้าโครงการ U2T ตำบลถนนหัก และคืนข้อมูลการขับเคลื่อนงานในรอบเดียวที่ผ่านมาในพื้นที่เป้าหมายตำบลถนนหัก กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยผู้ร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสันทนาการครั้งนี้ โดยมีการพูดคุยถึงปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายโดยได้ทราบถึงปัญหาของกลุ่ม กระยาสารทเรื่องการจัดทำแพ็คเกจและเงินทุนหมุนเวียนความต้องการต้องการให้โครงการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการจัดทำแพ็คเกจทำโลโก้และต้องการหาตลาดใหม่เพื่อเพิ่มยอดขาย

กลุ่มสัมมาชีพบ้านหนองม่วงปัญหาที่พบยังไม่มีความชำนาญในการทำขนมมะพร้าวแก้วและการใช้สีธรรมชาติให้เป็นอัตลักษณ์และการทำแพ็คเกจโลโก้ ให้โดดเด่นเป็นที่น่าสนใจความต้องการต้องการทราบถึงการใช้สีธรรมชาติให้ติดทนนานเหมือนสีผสมอาหารและทำแพ็คเกจของผลิตภัณฑ์มะพร้าวแก้วให้เป็นที่ต้องการของท้องตลาดต่อไ

วันที่ 20 สิงหาคม 2565

เริ่ม เก็บข้อมูลTCD และบันทึกลงในระบบ เพื่อ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ บริบทในชุมชน เช่น เกษตรกร สัตว์เลี้ยง พืชในชุมชน อ่างเก็บน้ำเป็นต้น

 

วันที่ 24 สิงหาคม 2565

​​กลุ่มผู้ปฎิบัติงานU2T ได้นำแบบโลโก้ไปเสนอให้กับกลุ่มภายในตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่าชอบโลโก้อันไหน อยากที่จะปรับแก้ในส่วนใด ต้องการเพิ่มคำที่เฉพาะกลุ่มหรือไม่ มีกลุ่มดังนี้

1.กลุ่มมะพร้าวแก้ว บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลถนนหักอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์

      2.กลุ่มกระยาสารท บ้านผักหวาน หมู่ที่ 1  ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 

วันที่6 กันยายน 2565

จัดกิจกรรมสอนการทำมะพร้าวแก้ว ณ บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ช่วงเช้า 9.30-12.00 น. ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับทำกิจกรรม ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบในการทำมะพร้าวแก้ว เช่น มะพร้าวขูด สีธรรมชาติ มีใบเตย อัญชัน กระเจี๊ยบ ขมิ้น น้ำตาล เกลือ มะนาว กลิ่นมะลิ ฯลฯ อุปกรณ์ในการทำ เช่น เครื่องชั่งดิจิตอล ถ้วย กาละมังหลาบขนาด กระทะทองเหลือ ไม้พาย กระชอนเตาแก๊ส ฯลฯ โต๊ะ เก้าอี้ ในการนั่งฟังวิทยากร บรรยายในช่วงแรก จัดเบรก/อาหารว่าง ให้ผู้เข้าอบรม 

ช่วงเวลา 13.00-17.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวตอนรับวิทยากร อาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน U2T แนะนำตัว แนะนำวิทยากรจาก สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาแนะนำและสอนการทำมะพร้าวแก้ว ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้า ต่อไปเป็นการแนะนำสีธรรมชาติที่สามารถใช้ได้ แนะนำวัตถุดิบที่จะทำมะพร้าวแก้ว อัตราส่วนการใช้วัตถุดิบต่างๆ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้ทราบว่า วัตถุดิบธรรมชาติ อัตราส่วนการใช้ ทดลองอัตราส่วนที่พอดีกับความอร่อย ประทับใจกลุ่มมะพร้าวแก้วบ้านหนองม่วง หมู่ที่ 10 มากๆ ทุกคนสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

สรุปกิจกรรมที่ได้เข้าร่วม 

จากกิจกรรมข้างต้นนี้ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มภายในตำบลถนนหัก และกลุ่มผู้ปฎิบัติงาน U2T เป็นอย่างมาก สามารถนำไปต่อยอด เป็นรายได้ให้กับกลุ่ม ทำให้กลุ่มได้มาพูดคุยกันถึงปัญหา และความต้องการของกลุ่ม ช่วยกันหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป ในส่วนของหน้าที่ ที่ได้รับผิดชอบได้ทำอย่างเต็มที่ในส่วนที่บกพร่องก็ทำให้มันดีขึ้น ในทุกกิจกรรมภายในทีมจะมีการพูดคุยถึงสิ่งที่สำเร็จ และสิ่งที่ควรแก้ไขตรงจุดไหนทุกกิจกรรม ทำให้กิจกรรมผ่านไปด้วยดี กลุ่มภายในตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ความร่วมมือดีมาก ทุกกลุ่มสนใจ เปิดใจที่จะเรียนรู้เสนอสิ่งที่กลุ่มต้องการ มีการตอนรับผู้ปกฏิบัติงานและอาจารย์เป็นอย่างดี อบอุ่นมากๆ ประทับใจมากๆค่ะ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T FOR BCG) ที่มีโครงการเข้ามาสนับสนุนชุมชน ให้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในชุมชน และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำโครงการที่ให้โอกาสเข้ามาทำงาน เข้ามาเรียนรู้ ในกิจกรรมครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ