บทความประจำเดือนกันยายน 2565 เสนอผลการพัฒนาสินค้าและ บริการ C-04 และแผนนำสินค้าออกสู่ตลาด C-05 ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเดือนกันยายน มีการนำข้อมูลลงระบบ TCD อาทิเช่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น แหล่งน้ำในชุมชน และอาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่นและลงในระบบให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กำหนดและ เสนอผลการพัฒนาสินค้าและ บริการ C-04 และแผนนำสินค้าออกสู่ตลาด C-05 มีลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติ เพื่อที่ได้ดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้เสร็จสมบูรณ์ และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์ และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานหลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนกันยายน เพื่อที่จะได้ แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนแบ่งฝ่ายงาน ตามความเหมาะสมและเข้าใจงานในส่วนที่ได้รับผิดชอบ
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 จัดทำแบบฟอร์ม C-05 แผนนำสินค้าออกสู่ตลาด ให้ครบถ้วนตามที่มหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือสีธรรมชาติ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ และสรุปผลการปฏิบัติงาน
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1ได้มีการสำรวจตลาดและหาช่องทางการจำหน่ายเพิ่ม เพื่อที่จะมุ่งเสนอความต้องการของผู้บริโภค มีการจัดส่งด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เช่น Kerry Flash J&T และ EMSซึ่งจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อ
คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 มีการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับ ศส.ปชต.ในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนในพื้นที่ และสรุปรายงานและจัดทำบทความประจำเดือนกันยายน
การฝึกอบรมทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ Design thinking ด้านโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas ด้านเร่งการเติบโต Growth Hacking และด้าน Presentation-Tips ดิฉันได้ทำการฝึกอบรมทักษะตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
ผลการวิเคราะห์จากข้อมูล เสนอผลการพัฒนาสินค้าและบริการ C-04
อธิบายรายละเอียดความก้าวหน้าของงาน
1. มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีความละเอียดของเนื้อผ้ามากขึ้น มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มหรือชุมชนมีรูปทรงและเฉดสีที่มีความทันสมัยเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน(อยู่ในช่วง 70%)
2.มีการนำนวัตกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี (ผ้านุ่ม/ผ้าหอม) เข้ามาใช้ในการผลิตทำให้ผ้ามีความนุ่มลื่น มีกลิ่นหอม สวมใส่สบาย ช่วยลดการยับ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย(อยู่ในช่วง 70%)
3. มีการสำรวจตลาดในพื้นที่ว่ามีหน่วยงานใดหรือกิจการใดที่มีการใช้ผ้าทอมือสีธรรมชาติเช่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์แผนการตลาดและต้นทุนที่ใช้การผลิตสินค้า(อยู่ในช่วง 60%)
4. สำรวจตลาดคู่แข่งเพื่อนำมาตั้งราคาให้สมเหตุสมผลกับคุณภาพของสินค้าและความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยการจำหน่ายสินค้าจะตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาในท้องตลาดมากที่สุด โดยดึงจุดสนใจจากเนื้อผ้าที่มีความละเอียด และการใช้สีธรรมชาติมาเป็นจุดขาย ทำให้ลูกค้าตัดสินใจในการซื้อได้มากขึ้น(อยู่ในช่วง 60%)
5. ออกแบบ Content และรูปภาพเพื่อใช้ในการโปรโมทสินค้าและวางแผนการตลาดรวมทั้งนำสินค้าถ่ายรูปเพื่อโปรโมทและอัพโหลดวีดีโอเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำผลิตภัณฑ์(100%)
6.มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบการขนส่งสาธารณะ เพื่อหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้นและเพื่อมุ่งเสนอความต้องการของผู้บริโภค เช่น Kerry Flash J&T และ EMS ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อมากขึ้น(อยู่ในช่วง 60%)
ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าและบริการด้านใดทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการทำผ้าทอมือสีธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เช่น ผ้าซิ่น ผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น และสินค้าได้ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปกระเป๋าหรือเสื้อ อยู่ระหว่างการพัฒนาสินค้าและเรียนรู้มาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพื่อยื่นขอต่อไปในอนาคต
กิจกรรมการพัฒนาสินค้า/บริการ
- การศึกษาดูงานนอกสถานที่ มีการศึกษาดูงานในตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบลายผ้า และการย้อมสีธรรมชาติที่มีความแตกต่างกัน
- การรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- นวัตกรรมการตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี (การทำผ้านุ่ม/ผ้าหอม) เพื่อเคลือบสิ่งทอให้มีคุณสมบัติพิเศษด้วยนาโนเทคโนโลยี ส่งผลให้ผ้ามีความนุ่มลื่น มีกลิ่นหอม สวมใส่สบาย และช่วยลดการยับ
- นวัตกรรมการใช้สารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี ในการย้อมสีธรรมชาติ เช่น สารส้มสนิมเหล็ก น้ำปูนใส หรือน้ำโคลน เพื่อทำให้ได้เฉดสีใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
- การฝึกอบรม/สัมมนา/ประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่น มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การย้อมสีธรรมชาติ” ณ ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมือสีธรรมชาติบ้านหนองดุม ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตูมน้อย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านคู ตำบลมะเฟือง และตำบลบ้านจาน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ รวมทั้งมีการสาธิตขั้นตอนและวิธีการย้อมสีธรรมชาติให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง
- การสำรวจตลาด/คู่แข่ง มีการสำรวจตลาดคู่แข่งนำวิเคราะห์แผนการตลาด สำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยการจำหน่ายสินค้าจะตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาในท้องตลาดมากที่สุด
- การสำรวจและเก็บข้อมูลลูกค้า มีสำรวจตลาดในพื้นที่ ว่ามีหน่วยงานใด หรือกิจการใดที่มีการใช้ผ้าทอมือสีธรรมชาติ เพื่อจะได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
- การวิเคราะห์/ประเมินคุณภาพสินค้า/บริการมีการวิเคราะห์แผนการผลิต ควบคู่กับประเมินคุณภาพสินค้า มีการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและวัตถุดิบการควบคุมและมีตรวจสอบกระบวนการผลิตรวมถึงสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าตามมาตรฐานคุณภาพตามที่กำหนดไว้
- การทดสอบสินค้า/บริการหลังการพัฒนากับลูกค้ามีการทดสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ เช่น ตกแต่งผ้าสำเร็จด้วยนาโนเทคโนโลยี (การทำผ้านุ่ม/ผ้าหอม)พบว่ามีกลิ่นหอมถึง 38 ครั้งต่อการซัก หลังจากนั้นมีการทดสอบความคงทนของผลิตภัณฑ์ซึ่งพบว่า มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ให้มีประสิทธิต่อการใช้งานก่อนวางจำหน่ายสินค้าและมีบริการดูแลลูกค้าหลังการขายสำรวจความพึ่งพอใจของลูกค้าหลังการขายทุกครั้งเพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าให้กลับมาซื้อผลิตภัณฑ์ซ้ำ
- การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าต่อสินค้า/บริการมีการสำรวจความพึ่งพอใจของลูกค้าหลังการขายทุกครั้ง ว่ามีความประทับใจมากน้อยแค่ไหน เพื่อเป็นนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่ท่านต้องดำเนินการต่อเพื่อให้การพัฒนาสินค้า/บริการสำเร็จ
- อบรมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปให้มีสีสัน ลวดลาย และรูปทรงที่ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคในปัจจุบัน
- ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้บริโภค วิเคราะห์การตลาด ต้นทุน แหล่งที่มา และสถานที่การผลิต
- นำข้อมูลแบบสอบถามมาวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ต่างๆ
- การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูป (กระเป๋าหรือเสื้อ) พัฒนาคุณภาพ และเฉดสีของผลิตภัณฑ์
- มีการสำรวจตลาดคู่แข่ง สำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความแตกต่าง โดยการจำหน่ายสินค้าจะตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาในท้องตลาดมากที่สุด
- มีการวางแผนจำหน่ายสินค้าผ่านระบบ Online และจัดอบรมวิธีการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบ Online ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
- มีการทดสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ เช่น ทดสอบความทนทาน ทดสอบความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่นำข้อมูลที่ได้มาทำการพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีประสิทธิต่อการใช้งาน ก่อนวางจำหน่ายสินค้ประเด็นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
- ผลการวิเคราะห์จากข้อมูล ลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับ ศส.ปชต.ในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
1.1 บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในชุมชน
– มีหน้าที่จัดตั้งและประชาสัมพันธ์การอบรมก่อนการเลือกตั้งให้กับประชาชนในตำบลในเรื่องของการออกมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้ง
– มีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการการเลือกตั้ง…
1.2การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไรระบุตัวอย่างจากการพูด
– มีความสอดคล้อง คือ ผู้ใหญ่บ้านจะมีการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับประชาชนในหมู่บ้านหรือตำบลให้ทราบถึงนโยบายของการเลือกตั้ง ก่อนการเลือกตั้งจริง
-มีการประชุมลงมติประชาคมในการจัดกิจกรรมหรืองานที่ต้องจัดขึ้นภายในหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือในการจัดการในขั้นตอนต่อ ๆ ไป
1.3 การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
– ซื่อสัตย์ – สุจริต – เป็นคนดี – เป็นที่พึ่งให้กับประชาชนหรือชาวบ้านได้
1.4 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจเพียงหรือไม่ อย่างไร ระบุจากการพูดคุย
– มีความสอดคล้องในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้านมีการอบรมและประชาสัมพันธ์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความเป็นอยู่ที่สงบสุขของประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่
– สภาพอากาศเนื่องจากสภาพอากาศฝนตก ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเดินทาง
– เวลา เนื่องด้วยเวลาของผู้ที่สัมภาษณ์อาจไม่ตรงกันทำให้เป็นอุปสรรคในการลงพื้นที่สัมภาษณ์
– งบประมาณ เนื่องจากงบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอต่อการจัดการ
ข้อเสนอแนะ
– สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมในการดำเนินงาน
– อยากให้มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการอบรมภายในศูนย์เพิ่มมากขึ้น
ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ผลจากทำงานภายในเดือนสิงหาคม ได้พบปัญหาในการเตรียมการวางแผนในการทำงานของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของตำบลตูมใหญ่ทั้งกระเป๋า และผ้าเช็คหน้าเนื่องจากภายในเดือนกันยายนทางทีม AG01-1 พึ่งได้ลงพื้นที่สอบถามความต้องการของชุมชนยังไม่มากพอจึงทำให้ได้ข้อมูลล่าช้า ส่งผลให้ส่งข้อมูลล่าช้ากว่าตำบลอื่นแต่อย่างไรก็ตามทางทีม AG01-1 ก็สามารถทำงานตามระยะเวลาที่มาหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้การติดต่อประสานงานกับทางชุมชนมากขึ้น
- ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นในรูปแบบของการตลาดออนไลน์
- ได้ทำงานร่วมกับ ศส.ปชต.ในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
- ได้เรียนรู้การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูป (พัฒนาคุณภาพ ลวดลาย รูปทรง และเฉดสี ของผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด
- ได้เรียนรู้การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) อาทิ Facebook Instagram Tiktok และ Shopee
- แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนกันยายน 2565 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 มีแผนการดำเนินงานดังนี้
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนกันยายน โดยมุ่งเน้นการติดตามผลความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าทอมือสีธรรมชาติ (กระเป๋า) และผ้าขาวม้าสีธรรมชาติ อย่างต่อเนื่อง
2. การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) อาทิ Facebook Instagram Tiktok และ Shopee อย่างต่อเนื่อง
3. คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม