จังกรานเบย

เกียรติชัยสงค์ แรมประโคน

            จังกรานเบย เป็นชื่อเรียกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ในบ้านโคกใหญ่ หมู่ที่6 ตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ คำว่า จังกราน เป็นภาษาถิ่น หรือภาษาเขมร แปลว่า เตาหินสามเส้า คำว่า เบย เป็นภาษาภิ่นหรือภาษาเขมร แปลว่า สาม จังกรานเบย จึงแปลว่า เตาสามเส้า

ท่านผู้ใหญ่นาม สีเนือน อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่6 กับท่านผู้ใหญ่ สุพิศ บริสุทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่6 เล่าถึงประวัติจังกรานเบยว่า เป็นหลักเขตหรือสัญลักษณ์ของนักเดินทาง ของคนในสมัยโบราณ หรือเป็นหลักเขตสัญลักษณ์ที่จอดพัก จังกรานเบยเป็นหิน 5 ก้อน และมีหลักศิลาจารึกอยู่หนึ่งก้อน ทั้ง 4 ด้าน ที่มีตัวหนังสือโบราณสลักอยู่ แต่ไม่มีใครอ่านออก ในปี พ.ศ. 2537 นาย เอือย ชัยหมก เป็นสมาชิกสภาตำบลในตอนนั้น ได้พาชาวบ้านขุดหลักหินทั้ง 5 หลักที่ฝังอยู่ ย้ายมาทำสถานที่ข้างๆไว้ให้ชาวบ้านสักการะบูชา

พูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของจังกรานเบย ที่เล่าต่อกันมา ทุกวันพระในช่วงกลางคืนจะมีแสงไฟ 2 ดวง ลอยอยู่ตรงบริเวณที่มีหลักฝังอยู่เป็นประจำ และมีชาวบ้านหัวเสือเคยมาบนบาลศาลกล่าว และได้ถูกหวยหลายครั้ง ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 มีชาวบ้านฝันว่า หลักหินมาบอกว่าอยู่ที่ใหม่ไม่ดี ให้ย้ายกลับมาไว้ที่เดิม ทางผู้ใหญ่สุพิศ และชาวบ้าน จึงได้นำมาไว้ที่เดิมและได้ทำศาลไว้เป็นที่ศักการะบูชาของชาวบ้านต่อไป