ชื่อบทความ : ID14-1 ภูมิปัญญาการทอเสื่อก

ชื่อหมู่บ้าน : หมู่ 4 ตำบลแสลงโทน  อำเภอประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวนวลพรรณ แบบรัมย์

ประเภท: ประชาชน

               บ้านนางลุ่ย พรรัมย์ หมู่ 4 ตำบลแสลงโทน  อำเภอประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์ โดยที่อยู่อาศัยรอบๆมีความเป็นอยู่ที่สงบ สะอาด สดชื่น อยู่อย่างพอเพียง คุณยายประกอบอาชีพท่อเสื่อกกขาย ได้ออกแบบลวดลายต่างๆลงบนเสื่อ อีกทั้งยังนำเสื่อมาประกอบเป็นกระเป๋าเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับให้เข้ากับยุคสมัยคนในปัจจุบัน

คุณยายกล่าวว่า การทอเสื่อกกถ่ายทอดต่อมาจากรุ่นก่อนๆ ทำไว้เพื่อใช้ภายในบ้าน และทำไว้สำหรับงานต่างๆ ต่อมาได้มีการพัฒนาออกแบบลายต่างๆให้ดูแปลกใหม่ และนำมาจำหน่ายสร้างรายได้เข้าสู่ครัวเรือน เนื่องจากคุณยายทอเสื่อกกเพียงคนเดียวส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำเสื่อกก และอาจเกิดปัญหาในการจัดจำหน่ายได้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด

              ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เสื่อมีลวดลายที่สวยงามและหลากหลาย มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์

ดังนี้ 1.ลายใบแสลง 2.ลายกำแพงดิน 3.ลายระฆังโบราณ 4.ลายศาลตาปู่ และ 5.ลายปู

ขั้นตอนการเตรียมไหลสำหรับการทอเสื่อกก

  1. นำไหลมาตัดให้ได้ขนาดที่เท่ากัน ไหลที่นำมาตัดนั้นจะต้องเป็นลำที่สวยงาม ไม่แก่จนเกินไป และไม่อ่อนเกินไป
  2. จากนั้นนำไหลมาสอย เอาไส้ทิ้งเอาแต่เส้น ไหล 1 ลำ จะแบ่งได้ 4 เส้น
  3. เมื่อสอยไหลแล้วก็จะออกมาเป็นลักษณะที่เท่ากัน ไหลทั้ง4เส้นจะต้องเท่ากัน ห้ามมีเส้นใดเส้นหนึ่งหนาหรือบางกว่ากัน ความหนาบางต้องเท่ากัน 0.5 เซนติเมตร เพื่อทอเสื่อ ออกมาให้สวยงาม
  4. นำไหลมาตากให้แห้ง จะย้อมสีได้สวย และนำไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์ ต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ และสมาธิอย่างมากในการทำ เพื่อที่จะได้เส้นที่เสมอเท่ากันแน่นเรียบละเอียด
  5. นำไหลมาย้อมโดยย้อมด้วยสีเคมีตามที่ต้องการ