HS06-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565
ข้าพเจ้า นายสมพร สมนึก ประเภทประชาชน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)
ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ได้ทำการส่งเอกสารรายงานตัว และได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศแบบออนไลน์กับทางกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในเวลา 13.30 – 15.30 น. ผ่าน facebook live : MHESIThai Land ในหัวข้องานพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG(โครงการ U2T for BCG and Regional Development)
-ได้กล่าวถึงความสำเร็จของU2Tในปีที่ผ่านมาและการต่อยอดความสำเร็จกับโครงการ U2T for BCG
-กล่าวถึงบทบาทของกระทรวง อว. กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโมเดล BCG
ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เข้าร่วมปฐมนิเทศรับฟังโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ผ่านทาง You Tube Live โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารงานบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ชี้แจง วัตถุประสงค์ ของโครงการ คือ
- เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG
- เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่
โดยต้องทำงานกลับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยการเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนที่ได้มาตรฐาน และได้ออกสู้ตลาดมียอดขายที่เพิ่มขึ้นหรือการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 10 % โดยเก็บข้อมูลเปรียบเทียบยอดขายจริง ก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าสู่บทเรียนออนไลน์ ทาง https://assignment.U2T-pbm.com/login? returnUrl=/e-learning หรือ www.u2t.ac.th เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้บทเรียน “คัดสรร” คือ เข้าใจและเรียนรู้ BCG ผ่านการคิดและกระบวนการ Hackathon เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ใช้เหตุผล แก้ปัญหาเชื่อมโยงให้บรรลุจุดมุ่มหมาย เข้าสู่บทเรียน
M-01 แนวคิดและเศรษฐกิจBCG
M-02 คิดเชิงออกแบบ Design Thinking มีด้วยกันทั้งหมด12EP.
BCG Economy คืออะไร คือรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ประกอบด้วย เศรษฐกิจหลัก 3ด้านที่จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน B= เศรษฐกิจชีวภาพ C= เศรษฐกิจหมุนเวียน G= เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยังยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม
นวัตกรรม = ทำอะไรแล้วใหม่ แล้วมีคุณค่า คือ นวัตกรรม
Design thinking = กระบวนการคิดในการออกแบบ นิยาม คือ กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆมาทดสอบ และพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ
นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องหรูหรา
แต่ต้องสร้างคุณค่าได้ทันที
คุณค่านั้นสามารถสร้างได้ตั้งแต่ คุณค่าต่อลูกค้า คุณค่าต่อพนักงาน และคุณค่าต่อตัวของเราเอง
ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ผู้ปฏิบัติงานได้ประชุมระดมความคิด เพื่อร่วมการวางแผนในการเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ได้มาตรฐาน และได้ออกสู้ตลาดมียอดขายที่เพิ่มขึ้นหรือการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 10 % ช่วงบ่ายได้ลงพื้นเพื่อเก็บข้อมูลกลุ่มทอผ้า และชี้แจงรายละเอียดแนวทางในการดำเนินการเพื่อเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์