ดิฉัน นางชฏาพร ศักดานุกูล เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทประชาชน ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลที่สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในตำบลทองหลางให้ได้มากที่สุด จึงได้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์และพืชต่างๆในท้องถิ่น เช่น ข้าวแต๋น และดาวเรือง เป็นต้น จากนั้นได้ทำการระบุพิกัดของผลิตภัณฑ์และพืช ได้สอบถามข้อมูลต่างๆของผลิตภัณฑ์และพืชจากเจ้าของหรือบุคคลใกล้เคียง

ดิฉัน ได้รับมอบหมายงานออกแบบบรรจุภัณฑ์และโลโก้ จำนวนสมาชิกมี 10 คนสมาชิกในกลุ่มช่วยกันออกแบบโลโก้และได้มีการนำเสนอออกความคิดเห็นกัน และ มีโลโก้ประมาณ 4-5 แบบ ที่ให้สมาชิกในกลุ่มเลือก จากนั้นจึงค่อยนำเสนออาจารย์ ผ่านกลุ่ม Line ให้อาจารย์เลือกโลโก้ที่จะใช้ในการบรรจุภัณฑ์ คณะอาจารย์มีมติตรงกันได้เลือกบรรจุภัณฑ์และโลโก้เพียงอันเดียว คณะอาจารย์ได้แนะนำการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงบางจุดของโลโก้ที่จะใช้ในการบรรจุภัณฑ์ที่เลือกกันไว้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์

ดิฉันได้ทำการลงพื้นที่ศึกษากระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอนการทำขนมนางเล็ดใน พื้นที่ของ หมู่ 9 ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีขั้นตอนวิธีการผลิตดังนี้
1.ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน
2.นึ่งข้าวข้าวเหนียวให้สุก และอุ่นให้ร้อนตลอดการผลิต เตรียมไว้
3.ตักข้าวเหนียวใส่ลงในพิมพ์วงกลม กดแผ่ให้เป็นแผ่นบาง ๆ (อย่ากดให้แน่นมากจนเกิดไป เพราะเวลาทอดจะแข็ง) แล้วเคาะออกจากพิมพ์ นำไปตากแดดจนแห้ง เตรียมไว้
4.ใส่น้ำมันลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟปานกลางจนร้อน ใส่ข้าวเหนียวที่ตากไว้ลงทอดจนพองเต็มที่ ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน เตรียมไว้
5.ใส่น้ำตาลปี๊บและน้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟอ่อน เคี่ยวจนน้ำตาลละลาย ค่อย ๆ ตักหยอดเป็นเส้น ๆ ลงบนขนม พักทิ้งไว้สักครู่จนน้ำตาลแข็งตัว พร้อมเสิร์ฟ

คลิปการลงพื้นที่ปฏิบัติงานพื้นที่ตำบลทองหลาง

คณะผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ C-02 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแผนธุรกิจ ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ การสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าและราคา เพื่อขับเคลื่อนในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ต่อไป