นายจักรพงษ์ อยู่บางช้าง ผู้ปฏิบัติในพื้นที่           ตำบลอิสาน ประเภท ประชาชน หลักสูตร HS16-2

หลักสูตร HS16-2: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

โครงการ U2T for BCG คือ

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยจะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน ที่ต้องการร่วมงานเป็นทีมเดียวกับ อว. ซึ่งจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

วัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG

โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ รับผิดชอบตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีโครงการเดิม “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสู่ตลาดจึงมีการคิดค้นสูตรสมุนไพรต่างๆ เช่น สูตรใบเตย สูตรขมิ้น สูตรใบกระท่อม สูตรอัญชัน สูตรกระเจี๊ยบ เป็นต้น

มีวิธีขั้นตอนการทำดังนี้

สูตรทำไข่เค็มบ้านโคกหัวช้าง

1.ไข่เค็มเบอร์ 0

2.เกลือสมุทร(เม็ด) 1 ส่วน

3.ดินสอพอง 3 ส่วน

4.ขมิ้น (สมุนไพรที่ต้องการ) 3 ส่วน

5.น้ำ(น้ำขมิ้น)พอหมาดๆจับกันเป็นก้อน

6.พลาสติกที่ใช้ห่อหุ้ม

*ข้อมูลจากประธานกลุ่มสตรีบ้านโคกหัวช้าง หมู่ที่ 3

และมีวิธีการแปรรูปสำเร็จพร้อมทานได้ดังนี้

ไข่เค็มขมิ้นเวลาในการดอง จำนวน 5 วัน
ดอง – นำไปทอด ไข่ขาวเค็มมาก 10 ไปเลย ไข่แดง
เค็มอร่อย
– นำไปต้ม ไม่ขาวเค็ม และเค็มกว่าไข่แดง
*สีและกลิ่นติดเปลือกไข่เข้มมาก แต่กลิ่นและสีไม่
เข้าไปข้างใน
พอก – นำไปทอด ไข่ขาวเค็มน้อยกว่าแบบทอด
ของการดอง ไข่แดงเค็มอร่อย
– นำไปต้ม ไม่ขาวเค็มกว่าไข่แดง และเค็ม
พอดี แต่เค็มร้อยกว่าแบบดอง
*สีและกลิ่นติดเปลือกไข่เข้มมาก แต่กลิ่นและสีไม่
เข้าไปข้างใน
โดยรวมการทอดแบบพอกดีกว่า การต้มแบบดอง
จะเป็นไข่เค็มมากกว่า

เพื่อหารต่อยอดในการขายไข่เค็มตามท้องตลาดทั่วไปที่ดูไม่หลากหลาย ทางคณะทำงานกับคณาจารย์ประจำสาขาจึงคิดค้นพัฒนาสูตรการทำไข่เค็มมีการนำเอาสมุนไพรเข้ามามีบทบาทในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในดูน่าสนใจน่าซื้อน่าลองสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

ทั้งนี้กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ประจำสาขาที่เปิดโอกาสให้กระผมได้มีส่วนร่วมในการทำงานในครั้งนี้มากครับ

 

ผู้เขียนบทความ

นายจักรพงษ์ อยู่บางช้าง

ประเภท ประชาชน

HS16-2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ลิ้งค์วีดีโอประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565