ข้าพเจ้านางสาวจิระนันต์ ผลชู ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้น
ในเดือนสิงหาคม ทางคณาจารย์และทีมงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา ได้ลงพื้นที่เข้าพบ ผู้นำชุมชน ชาวบ้านกลุ่มผ้าฝ้ายยายแย้มวัฒนาและกลุ่มข้าวเกษตรอินทรีย์ตำบลยายแย้มวัฒนา เพื่อชี้แจงเรื่องจุดประสงค์ของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รับทราบปัญหาของชาวบ้านและร่วมกันแก้ไขปัญหา
ทีมงานได้มีการประชุมร่วมกับคณาจารย์ประจำตำบลเพื่อจัดทำแบบฟอร์ม C-03 แผนการพัฒนาสินค้า และบริการ โดยมีรายละเอียดทั้งหมดทั้งนี้ ส่วนที่ 1 ชื่อสินค้าและบริการคือ ผ้าฝ้ายยายแย้มและข้าวภูเขาไฟยายแย้ม ส่วนที่ 2 พื้นที่ตำบล ยายแย้มวัฒนา จังหวัด บุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ส่วนที่ 3 สินค้า และบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่ ได้แก่ ใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลิตสินค้าและบริการให้มีนวัตกรรมและมีมูลค่าสูง นำวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้เพื่อลดการใช้สารเคมีที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 4 รายได้ต่อปีในปัจจุบัน 200,000 บาท/ปี ส่วนที่ 5 กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ส่วนที่ 6 ช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน หน้าร้าน และตลาดออนไลน์ เช่น facebook, line, Shopee, Lazada เป็นต้น ส่วนที่ 7 วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าคือออกแบบสินค้า ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่และพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าสูง ส่วนที่ 8 เป้าหมายการพัฒนาสินค้า ได้สินค้าใหม่ ได้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ใหม่ ได้นำสินค้าที่จำหน่ายออนไลน์ได้และได้สินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ส่วนที่ 9 เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้มา ได้แก่ พัฒนา Packaging Design, คุณภาพและมาตรฐานในการบรรจุผลิตภัณฑ์ อบรมBCG-Learning สร้างคุณค่าสินค้า การพัฒนาสินค้าและบริการ กลุ่มลูกค้าทั้งในพื้นที่และใกล้เคียง ตลอดจนบนแพลทฟอร์มออนไลน์ ส่วนที่ 10 หลักการและขั้นตอนการพัฒนาของสินค้า โดยเริ่มจากประสานงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คนในชุมชนมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาลายผ้าฝ้ายที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลและขั้นตอนแปรรูปข้าวภูเขาไฟยายแย้ม จากนั้นพัฒนา Packaging ผลิตภัณฑ์ ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเน้นไปที่ ออนไลน์ มากขึ้นและนำสินค้าออกสู่ตลาด ส่วนที่ 11 ระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าให้แล้วเสร็จภายใน 2 – 3 เดือน ส่วนที่ 12 งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาสินค้า 50,000-100,000 บาท ส่วนที่ 13 ความพร้อมของผลิตภัณฑ์ในด้านต่าง ๆ และส่วนที่ 14 อธิบายแผนการพัฒนาสินค้า เริ่มจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้บริโภค วิเคราะห์การตลาด ต้นทุน แหล่งที่มา สถานที่การผลิต จัดรูปแบบองค์กร จัดหาบุคลากร จัดหาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์การผลิต พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด วางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุด ทดลองใช้นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อคิดค้นลวดลาย สี ความแข็งแรง และความยืดหยุ่นของผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ โลโก้ผลิตภัณฑ์ ขยายการให้บริการเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้นผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น facebook, line, Shopee, Lazada
นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังได้เข้าอบรม BCG-Learning เพื่อทักษะการเรียนรู้ให้สมาชิก U2T ประจำเดือนสิงหาคม 2565 เข้าสู่บทเรียน “พัฒนา” คือ สร้างคุณค่าสินค้าและบริการ (Value Chain) การพัฒนาสินค้าและบริการ ซึ่งในเดือนสิงหาคมมีทั้งหมด 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ M-05 ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ คือการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและสัมพันธ์กับตัวสินค้า โดยเลือกองค์ประกอบของตัวอักษร โลโก้ของแบรนด์ รูปภาพที่เกี่ยวข้อง เพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค สร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์ การขอมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ เกษตรกร อาหาร การขอมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ ทั่วไป อาหารแปรรูป การขอเครื่องหมายรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Q และ Organic Thailand และ GMP Codex โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ M-06 วางแผนตลาดและการสร้างแบรนด์ เป็นการวางกลยุทธ์การตลาด วางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเชน ใช้ Geographic, Demographic, Psychographic, Behavioral เป็นเกณฑ์ในการวางกลุ่มเป้าหมาย สร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ใช้หลักส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ได้แก่ Product, Price, Place, Promotion ผลักดันสินค้าสู่ตลาดที่มั่นคง M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ คือการเตรียมพร้อมก่อนนำสินค้าออกสู่ตลาด (Prelaunch) กลยุทธ์ในการนำสินค้าออกสู่ตลาด (Product launch strategy) และเร่งการเติบโตด้วยการตลาด (After launch) M-08 การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต Startup คือ Growth ประกอบด้วย Repeatable การออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย และScalable การออกแบบให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้โดยง่าย