ข้าพเจ้านายอภิสิทธิ์ กะการดี ผู้ปฏิบัติงาน     ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประจำตำบลโนนเจริญ             อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฐมนิเทศพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(โครงการ U2T for BCG) มีกิจกรรมให้ผู้จ้างงานได้ร่วมและชี้แจงรายละเอียดต่างๆของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ว่างงานหรือไม่มีรายได้ในยุคโควิดและต่อยอดการพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุด ผ่านช่องทาง Live Facebook ช่อง MHESI Thailand

วันที่3 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ประชุมการปฏิบัติงานตำบลโนนเจริญเรื่องการเขียนโครงการกับอาจารย์ประจำตำบล เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน และติดตามงานอื่น ๆ หลังจากไปลงพื้นที่ครั้งที่ผ่านมา ผ่านทางออนไลน์ Google Meet

วันที่4 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T FOR BCG ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล พบว่าทางชุมชนต้องการพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ คือ แชมพูถ่านใบย่านาง รวมถึงสบู่ที่ทำจากสมุนไพรและน้ำผึ้งแท้ ซึ่งมีเเนวคิดจากการเผาถ่านแต่ละครั้งจะมีผงถ่านบริสุทธิ์หรือถ่านกัมมันเป็นจำนวนมาก ทางชุมชนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของผงถ่านบริสุทธิ์ ที่จะสามารถนำไปแปรรูปและประยุกต์สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

              

วันที่8 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เข้าร่วมการปฐมนิเทศโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นการชี้แจงรายละเอียดและวิธีการดำเนินงานในแต่ละส่วน

วันที่12 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ได้เข้าร่วมอบรมวิธีการจัดเก็บข้อมูล TCD ออนไลน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook U2T Online Community เป็นการอบรมเพื่อให้ผู้จ้างงานทุกท่านได้ทราบถึงวิธีการเข้าใช้แอพพลิเคชั่น U2Tในการเก็บข้อมูล ในครั้งนี้เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วน สะดวกและรวดเร็วในการทำงานต่อไป

วันที่18 กรกรฎาคม พ.ศ.2565 ได้ร่วมกันวางแผนธุรกิจในแบบฟอร์ม C02 เพื่อจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลโนนเจริญได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้เห็นผลมากที่สุดตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลจึงนำข้อมูลที่ได้มาเขียนแผนธุรกิจร่วมกับชุมชนตามแบบฟอร์มC02

               

เดือนนี้เป็นเดือนแรกของการเริ่มต้นทำงาน มีการลงพื้นที่เพื่อเข้าไปติดต่อ สอบถามข้อมูลจากคนในชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปช่วยกันพัฒนารูปแบบการทำผลิตภัณฑ์ในลำดับต่อไปได้