นายสุรชัย บุญเศษ  ประเภทบัณฑิต AG09-2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : AG09-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านายสุรชัย บุญเศษ ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ และได้เริ่มปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคมตามแผนดำเนินงานของโครงการ โดยในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมพิธีเปิด U2T for BCG บนเพจ U2T Online Community ผ่านช่องทาง Facebook Live
จากการเข้าร่วมทำให้ทราบถึงความเป็นมาของโครงการ และจุดประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ซึ่งทางกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนภารกิจระดับชาติ โดยใช้ความรู้ช่วยเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ ขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับรายได้ให้ประชาชน เป็นการวางรากฐานที่มั่นคง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงด้วยเศรษฐกิจ BCG
อันประกอบไปด้วย

B : Bio-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ

         C : Circular-Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

G : Green-Economy เศรษฐกิจสีเขียว

     ต่อมาข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ ณ ห้องประชุมขวัญข้าว คณะคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นการประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างประจำตำบล ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ภาพประกอบที่ 1 กิจกรรมปฐมนิเทศ ณ ห้องประชุมขวัญข้าว คณะคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

หลังจากการปฐมนิเทศคือการประชุมสมาชิกกลุ่มประจำตำบ้านจาน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สมาชิกในกลุ่มได้มาเจอกัน นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าที่น่าสนใจภายในตำบลบ้านจาน ซึ่งผลสรุปผลิตภัณฑ์ที่เลือก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือมัดย้อมสีธรรมชาติ แบบผ้าพันคอ และผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหมที่นำมาทำเป็นเข็มกลัดผีเสื้อ


ภาพประกอบที่ 2 ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือมัดย้อมสีธรรมชาติ แบบผ้าพันคอ และผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหมที่นำมาทำเป็นเข็มกลัดผีเสื้อ

เหตุผลที่เลือกผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือมัดย้อมสีธรรมชาติ แบบผ้าพันคอ และผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหมที่นำมาทำเป็นเข็มกลัดผีเสื้อ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์เกิดจากภูมิปัญญาของผู้คนในท้องถิ่นของตำบลบ้านจาน หมู่ที่ 10 อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในชุมชนได้มีการทอผ้าไหมเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในครัวเรือนอยู่แล้ว แต่ยังคงไม่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาชีพเป็นรายได้ โดยเป้าหมายของทีมคือการร่วมสำรวจปัญหา ศึกษาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าไหมตำบลบ้านจาน เพื่อวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีความโดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ และเพิ่มมูลค่าทางการตลาด สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

หลังจากที่เลือกผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาพัฒนาได้แล้ว อาจารย์ประจำหลักสูตรของตำบลบ้านจานก็ได้นำผลิตภัณฑ์ไปเสนอกับทางมหาวิทยาลัย เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจึงเริ่มดำเนินงานตามโครงการ กรอกแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ C-01

จากนั้นได้ร่วมลงพื้นที่ศึกษาและเก็บรวบร่วมข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านจาน หมู่ 10 ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นกลุ่มผ้าไหมทอมือมัดย้อมสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทอผ้าไหมในกลุ่มเป็นผ้าไหมที่ทำกันขึ้นมาเองในทุกกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกเส้นไหม การมัดลวดลาย การย้อมสีธรรมชาติ การทอผ้าด้วยมือ การตัดเย็บและการจำหน่าย

   
ภาพประกอบที่ 3 กระบวนการผลิตผ้าไหมทอมือย้อมสีธรรมชาติตำบลบ้านจาน หมู่ที่ 10 อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

จากการลงพื้นที่เก็บรวบร่วมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์สอบถามจากสมาชิกภายในกลุ่มและคนในพื้นที่ เข้าศึกษาเรียนรู้ในกระบวนการผลิตจากสภาพแวดล้อมจริงทำทราบว่ากลุ่มทอผ้าไหมบ้านจานทำผ้าไหมมัดหมี่ผ้าซิ่นเป็นหลัก กลุ่มผู้จัดทำโครงการจึงได้มีแนวคิดต้องการทำเป็นผ้าไหมทอมือแบบผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ มาพัฒนาและสร้างคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ให้มีความเหมาะสมตอบโจทย์และความต้องการของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนต่อไป

   
ภาพประกอบที่ 4 การลงพื้นที่เก็บรวบร่วมข้อมูลและศึกษาปัญหาต่างๆ