ดิฉัน นางสาวจิราลักษณ์ แก้วกล้า  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบคือ 13 หมู่บ้าน บ้านบุ่งเบาใหญ่ ม.1, บ้านคลองม่วง ม.2, บ้านเขว่า ม.3, บ้านกุดเทา ม.4, บ้านข่อย ม.5, บ้านจาน ม.6, บ้านจาน ม.7, บ้านดู่ ม.8, บ้านบุ่งเบาใหญ่ ม.9, บ้านจาน ม.10, บ้านบุ่งเบาใหญ่ ม.11, บ้านน้อยกระทุ่มทอง ม.12 และบ้านหัวฝาย ม.13 ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านจาน

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG09-2

ภาพประชุมชี้แจงรายละเอียดงานร่วมอาจารย์ประจำโครงการ

อาจารย์ประจำโครงการ จัดประชุมทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ มอบหมายงาน และหน้าที่เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นระบบ

ภาพประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน

ทีมงาน AG09-2 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ซึ่งได้รับผิดชอบคือ ตำบลบ้านจาน ซึ่งประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งเกิดจากการประสานงานของทีมงานกับผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน โดยในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลดิฉันสามารถเก็บข้อมูลของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านจาน และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงาน โดยจะพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมบ้านจาน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เข็มกลัดผีเสื้อที่ทำจากเศษผ้าไหมแท้ทอมือ และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือมัดย้อมสีธรรมชาติที่สามารถช่วยชาวบ้านในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

วัสดุธรรมชาติที่ให้สีต่างๆ

วัสดุธรรมชาติ ที่ให้โทนสีเหลือง-แสด  ส่วนรากของยอป่าซึ่งให้สีแดง-ส้ม แต่ถ้าใช้ส่วนของเนื้อรากจะให้สีเหลือง หรือแก่นไม้แกแลที่ให้สีเหลืองทอง เหลืองเข้ม เหลืองเขียว เปลือกเพกาก็สามารถให้ได้ทั้งโทนสีเขียว-เหลือง และฝักของต้นราชพฤกษ์หรือคูณ ซึ่งพบได้ทั่วไปตามท้องถนน ก็สามารถให้สีส้มอ่อนอมเทาได้เช่นกัน นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีวัสดุหรือพืชธรรมชาติที่คนไทยนำมาใช้สกัดสีเพื่อใช้ประโยชน์และเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย วันนี้จึงขอยกตัวอย่างวัสดุธรรมชาติที่ให้สีโทนดังกล่าวที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในท้องถิ่นหลายแห่ง ได้แก่ ขมิ้นชัน แก่นขนุน และเมล็ดคำแสด เป็นต้น

วัสดุธรรมชาติที่ให้สีโทนน้ำตาล มังคุด ในส่วนของการใช้ประโยชน์ในด้านการย้อมผ้า สีที่ได้จะเป็นสีน้ำตาล-น้ำตาลแดง ขึ้นอยู่กับกระบวนการย้อม สารหลักที่เกี่ยวข้องกับการให้สีของเปลือกมังคุด คือ “แทนนิน” ซึ่งให้สีเหลืองหรือน้ำตาล โดยแทนนินมีการใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมมาเป็นเวลานานหากใครเคยเผลอกัดเปลือกมังคุดเข้าให้ ก็จะเจอเข้ากับรสฝาดและขม นั่นก็คือรสชาติของแทนนิน นอกจากนี้ ใบของมังคุดก็นำมาย้อมได้ โดยเติมสารส้มช่วยติดสีก็จะให้สีออกน้ำตาลแดงเช่นกัน สำหรับการนำเปลือกมังคุดมาย้อม สามารถใช้ได้ทั้งเปลือกผลสดและเปลือกผลแห้ง และย้อมด้วยกระบวนการย้อมร้อน สีที่ได้จากเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง หรือใช้เป็นสารช่วยย้อมซึ่งทำให้สีธรรมชาติบนผ้าติดทนยิ่งขึ้นก็ดี

วัสดุธรรมชาติที่ให้สีดำ-เทา  โดยวัสดุที่มีการใช้ประโยชน์หลัก ๆ และใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ผลของมะเกลือ เนื่องจากให้สีดำสนิท และมีความคงทนต่อการซักและแสงดีมาก                                                                                                                             มะเกลือ เป็นวัตถุดิบธรรมชาติที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย พบได้ตามป่าเบญจพรรณ โดยผลมะเกลือมีสรรพคุณทางยานิยมใช้ในการถ่ายพยาธิ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ในขณะที่เนื้อไม้ก็มีความละเอียด แข็งแรงทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในการย้อมผ้าอย่างแพร่หลาย โดยใช้ผลแก่ที่มียาง ซึ่งมีสารไดออสไพรอลไดกลูโคไซต์ เมื่อสัมผัสอากาศจะกลายเป็นสารไดออสไพรอลที่มีสีดำ เมื่อนำไปย้อมผ้าสีให้สีดำสนิท ติดทนดี

วัสดุธรรมชาติที่ให้สีคราม  พืชที่ให้สีครามหรือสีน้ำเงินในบ้านเราที่นิยมใช้ในการย้อมผ้า จะมีหลัก ๆ อยู่ 3 ชนิด คือ ต้นคราม ต้นฮ่อม และต้นเบือก/เบิก แต่ที่นิยมใช้ประโยชน์ คือ ต้นคราม/ถั่วคราม และต้นฮ่อม แต่อาจเพราะชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และบางพื้นที่ก็เรียกต้นฮ่อมว่าคราม จึงมักถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพืชชนิดเดียวกัน แท้จริงแล้วพืชทั้งสองชนิดนี้อยู่กันคนละวงศ์กัน อีกทั้งยังเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ต่างกัน   

วัสดุธรรมชาติที่ให้สีเขียว/เขียวเหลือง สำหรับวัสดุธรรมชาติที่ให้สีเขียวนั้นมีหลากหลายมาก อย่างไรก็ตามวัสดุที่ให้โทนสีเขียวนั้น สามารถให้เฉดสีที่หลากหลายตั้งแต่เขียว-เขียวอ่อน-เหลือง ไปจนถึงสีกากี ขึ้นอยู่กับสารช่วยย้อม ส่วนผสมของวัสดุอื่นในการย้อม และกรรมวิธีในการย้อม                                                                                                                                                                   เพกา/ลิ้นฟ้า จะใช้เปลือกของลำต้นในการย้อมสี สามารถใช้ได้ทั้งเปลือกสดและเปลือกแห้ง การสกัดสีจากเพกาทำได้หลายวิธีและการใช้สารช่วยติดสีที่ต่างกัน ก็จะให้สีที่แตกต่างกัน หากใช้เปลือกสดกับสารส้มช่วยย้อม จะให้สีเหลืองสดใส แต่หากต้องการโทนสีเขียว อาจใช้สารติดสีจำพวกโซเดียมคาร์บอเนต น้ำสนิมเหล็ก หรือจุนสีลงไปขณะย้อม สาบเสือ โดยจะใช้ส่วนใบในการย้อมซึ่งให้สีเขียวอมเหลืองหรือเขียวคล้ำ

สีที่ได้จากการหมักโคลน สีที่ได้จากการหมักโคลนมีทั้ง สีแดง สีเหลืองทอง สีเทา สีน้ำตาล และอีกหลายๆสีที่มีตามสภาพภูมิประเทศ โคลนที่ใช้ในการหมักนั้น เราจะใช้โคลนที่มีอายุ 300-400 ปี ซึ่งโคลนในท้องถิ่นอื่นก็น่าจะสามารถใช้ได้ แต่ควรใช้โคลนดินเหนียว และเนื้อโคลนต้องละเอียด

นอกจากนี้ทางกลุ่มAG09-2 ได้ลงพื้นที่ไปเรียนรู้การทำเข็มกลัดผีเสื้อที่ทำจากเศษผ้าไหมแท้ทอมือ ดัดแปลงให้เป็นเครื่องประดับที่เพิ่มความสวยงาม ดูมีสง่า เพิ่มความหรูหรา ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้าประจำถิ่นได้ ซึ่งเข็มกลัดผีเสื้อ เหมาะเป็นของที่ระลึก /ของชำร่วย/ของฝาก/ของตกแต่ง/เครื่องแต่งกายได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม

                                                           ภาพลงพื้นที่ดูวิธีการทำเข็มกลัดผีเสื้อจากเศษผ้าไหม

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้​เรียน​รู้วิธีการทำเข็มกลัดผีเสื้อจากเศษผ้าไหม
  2. ได้เรียนรู้กระบวนการทอผ้าไหมมัดย้อมและสีจากธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมในการทำผ้ามัดย้อมจากกลุ่มทอผ้าไหมบ้านจาน
  3. ได้​เรียน​รู้การใช้ชีวิตของคนในชุมชนตำบลบ้านจานมากขึ้น

แผนการในการดำเนินงานต่อไป
       มีแผนการ​ดำเนินงาน​ใน​เดือน​ สิงหาคม 2​565 โดยจะพัฒนาต่อยอดเรื่องการขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางออนไลน์ รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตำบลบ้านจาน และจะดำเนินการทำแบบฟอร์ม C-03 แผนพัฒนาสินค้าและบริการ และแบบฟอร์ม C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ