ข้าพเจ้านาย ดุสิต บุผาโต ประเภทประชาชน (AG12-2) ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

กับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development )

เดือนสิงหาคม 2565 กับการทำงานเดือนที่สองในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development ) จะเป็นการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้เกิดการต่อยอดกับโครงการ U2T for BCG and Regional Development โดยเดือนนี้จะเป็นการพัฒนาสูตรขนมฝักบัวและขนมดอกจอก ให้เป็นขนมที่มีเอกลักษณ์เด่นให้เป็นที่รู้จักว่าขนมหน้าตาแบบนี้รสชาติแบบนี้เป็นของมาจากตำบลบ้านแวงนั่นเอง

การพัฒนาขนมฝักบัวทางโครงการได้นำพาวิทยากรที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดทำขนมฝักบัวสำเร็จรูปจากสีธรรมชาติ จากเวทีการประกวดแข่งขันเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์การอาหารที่จังหวัดอุบลราชธานี คือคุณ ณณฐ มณีวรรณ

ซึ่งวิทยากรได้มาแชร์ประสบการณ์การทำขนมฝักบัวจากสูตรดั้งเดิมที่ตระกูลได้ทำมากว่า 30 ปีจนมาถึงรุ่นที่ 4  คือคุณ ณณฐ มณีวรรณ ซึ่งทำขายที่ถนนเซาะกราวด์บุรีรัมย์และมีรายได้จากการทำขนมขายเป็นที่น่าพอใจ จนดึงดูดความสนใจต่อชาวชุมชนบ้านแก่นท้าว ตำบลบ้านแวง ที่เข้าร่วมรับฟังการบรรยายวิธีการทำขนมฝักบัวในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเอกลักษณ์เด่นที่ทำให้เกิดความต่างจากขนมฝักบัวทั่วไปตามท้องตลาดพุทไธสงในครั้งนี้จะเป็นการได้กลิ่นหอมของใบเตยที่มาจากธรรมชาติที่ติดอยู่ในขนมฝักบัว เวลาทานแล้วจะได้อรรถรสของกลิ่นหอมของใบเตยที่ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นความหอมที่เข้มข้น คือหอมมาก หอมในขณะเคี้ยวจนถึงกลืนลงคอความหอมจึงจางหาย ทำให้รับรู้ได้ในความเป็นเอกลักษณ์เด่นของตัวขนม แต่วิทยากรก็บอกแนวทางการต่อยอดไปอีกหากต้องการเปลี่ยนสีสันและกลิ่นของขนมก็สามารถหาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาทดลองทำได้ ก็คงจะได้เห็นการทำขนมฝักบัวออกจำหน่ายที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านแวงในเร็ว ๆ นี้

ส่วนการพัฒนาขนมดอกจอกทางโครงการได้พัฒนาสูตรให้กับชุมชนได้ทดลองทำจากแบบดั้งเดิม คือการเพิ่มกลิ่นเผือก สตอร์เบอรี่ เข้าไปในตัวขนม และทำให้มีมาตรฐานในการตวงวัดส่วนผสมอย่างลงตัว ทำให้ได้ขนมดอกจอกที่มีเอกลักษณ์และรสชาติที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่กลุ่มแม่บ้านบ้านแก่นเท้าเคยทำ และมีรสชาติที่อร่อยกว่าเดิม จนเป็นที่พอใจของผู้เข้าอบรม

จากการลงพื้นที่เพื่อนำพากลุ่มแม่บ้านเรียนรู้การทำขนมแบบใหม่สร้างความต่างให้เป็นเอกลักษณ์ในตัวขนมในครั้งนี้ สุดท้ายได้มีการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน ได้รับคำตอบที่ประทับใจ คือทางกลุ่มแม่บ้านมีความภาคภูมิใจที่ขนมพื้นบ้านได้รับการต่อยอดสร้างเอกลักษณ์เด่นให้เกิดในตัวขนม และรสชาติก็อร่อย จึงมีความมั่นใจว่าจะทำออกมาขายได้ดี และเป็นที่ถูกใจของลูกค้าที่ได้ทาน และความอร่อยกับเอกลักษณ์เด่นในตัวขนมนี้คงจะมีปากต่อปากจากลูกค้าพูดถึงขนมที่มาจากตำบลบ้านแวงจนเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปในอนาคตนี้