บทความประจำเดือนกรกฎาคม 2565 เสนอแผนการพัฒนาสินค้าบริการ C-03 และลงพื้นที่เพื่อติดตามผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติ ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

      ดิฉันนางสาวจุฑาทิพย์ สุ่มมาตร์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเดือนสิงหาคม มีการนำข้อมูลลงระบบ TCD อาทิเช่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น แหล่งน้ำในชุมชน และอาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่นและดำเนินการเสนอแผนการพัฒนาสินค้าบริการ C-03 ลงในระบบให้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อที่ได้ดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้เสร็จสมบูรณ์ และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการAG01(1) ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

อาจารย์ประจำหลักสูตร นัดประชุมออนไลน์ และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับงานหลังจากนั้นภายในกลุ่มมีการระดมความคิดเห็นรับมอบหมายงานในเดือนสิงหาคม เพื่อที่จะได้ แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนแบ่งฝ่ายงาน ตามความเหมาะสมและเข้าใจงานในส่วนที่ได้รับผิดชอบ

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 จัดทำแบบฟอร์ม C-03 แผนการพัฒนาสินค้า และบริการให้ครบถ้วนตามที่มหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือสีธรรมชาติ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ และสรุปผลการปฏิบัติงาน

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูป (พัฒนาคุณภาพ ลวดลาย รูปทรง และเฉดสี ของผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด

คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 จัดทำแบบฟอร์ม C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ ตามที่มาหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดสรุปรายงานและจัดทำบทความประจำเดือนสิงหาคม

 ผลการวิเคราะห์จากข้อมูล การเสนอแผนการพัฒนาสินค้าบริการ แบบ ฟอร์ม C-03

เดิมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการทำผ้าทอมือสีธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เช่น ผ้าซิ่นผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น และสินค้าได้ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้วปัจจุบันได้มีการพัฒนาสินค้าแบบBCGโดยการนำผ้าทอมือสีธรรมชาติมาแปรรูปเป็นกระเป๋าหรือเสื้อโดยเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้สีธรรมชาติจากวัสดุในชุมชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทั้งนี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพลาดลาย รูปทรงและสีของผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับรสนิยมของกลุ่มลูกค้าเพื่อเพิ่มช่องทางการขาย ทั้งยังเพิ่มทางเลือกและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5%โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หลักการในการพัฒนาสินค้า

เราได้นำผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมมาผนวกกับผลิตภัณฑ์แปรรูปที่คิดขึ้นใหม่ เสริมบางส่วนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ เพื่อให้สินค้าและบริการนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านตัวผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ภาพรวมของสินค้าออกมาสวยงาม และส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้กลุ่มลูกค้าหลากหลายกลุ่มคน ขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น

ขั้นตอนในการพัฒนาสินค้า

1.ประสานงานกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสินค้า รวมทั้งสอบถามความต้องการของกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ

2.อบรมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปให้มีสีสัน ลวดลาย และรูปทรงที่ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคในปัจจุบัน

3.ปรับกลยุทธ์ทางการตลาด โดยเน้นไปที่การจัดจำหน่ายทางออนไลน์มากขึ้น

4.นำสินค้าออกสู่ตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการขาย และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

แผนการพัฒนาสินค้า

1.การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูป (กระเป๋าหรือเสื้อ) พัฒนาคุณภาพ ลวดลาย รูปทรง และเฉดสีของผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และกลุ่มลูกค้าใน

2.ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้บริโภค วิเคราะห์การตลาด ต้นทุน แหล่งที่มา และสถานที่การผลิต

3.ออกแบบ Content และรูปภาพเพื่อโปรโมท วางแผนการตลาดและนำสินค้ามาถ่ายรูปเพื่อโปรโมท และอัพโหลดวีดีโอเกี่ยวกับขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์

4.สำรวจตลาดและหาช่องทางการจำหน่ายเพิ่ม เพื่อที่จะมุ่งเสนอความต้องการของผู้บริโภค มีการจัดส่งด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เช่น Kerry Flash J&T และ EMS ซึ่งจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ซื้อ

5.มีการตั้งราคาที่สมเหตุสมผลกับคุณภาพของสินค้า และความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความแตกต่างโดยการจำหน่ายสินค้าจะตั้งราคาให้ใกล้เคียงกับราคาในท้องตลาดมากที่สุด โดยดึงจุดสนใจจากเนื้อผ้าที่มีความละเอียด ใช้สีธรรมชาติ มาเป็นจุดขาย ทำให้ลูกค้าตัดสินใจในการซื้อได้มากขึ้น

6.วางแผนสร้างช่องทางจำหน่าย Off Line สำรวจตลาดและหาสถานที่จำหน่ายเพิ่ม รวมทั้งมีการออกบูทจัดจำหน่ายนอกสถานที่ เช่น งานประจำตำบล อำเภอ หรือระดับจังหวัด

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา     

                ผลจากทำงานภายในเดือนสิงหาคม ได้พบปัญหาในการเตรียมการวางแผนในการทำงานของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของตำบลตูมใหญ่ทั้งกระเป๋า และผ้าเช็คหน้าเนื่องจากภายในเดือนกรกฎาคมทางทีม AG01-1 พึ่งได้ลงพื้นที่สอบถามความต้องการของชุมชนยังไม่มากพอจึงทำให้ได้ข้อมูลล่าช้า ส่งผลให้ส่งข้อมูลล่าช้ากว่าตำบลอื่นแต่อย่างไรก็ตามทางทีม AG01-1 ก็สามารถทำงานตามระยะเวลาที่มาหาวิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่         

  • ได้เรียนรู้การติดต่อประสานงานกับทางชุมชนมากขึ้น
  • ได้เรียนรู้ถึงวิธีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่นในรูปแบบของการตลาดออนไลน์
  • ได้เรียนรู้แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ

แผนการดำเนินงานต่อไป

ภายในเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน 2565 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 มีแผนการดำเนินงานดังนี้

1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการจัดกิจกรรมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอมือสีธรรมชาติและผ้าขาวม้าสีธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง

2. ติดตามผลความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าทอมือสีธรรมชาติและผ้าขาวม้าสีธรรมชาติ และลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ และสรุปผลข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการดำเนินงานต่อไป

3. การพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มช่องทางการขายทำให้สินค้าถูกนำเสนอได้ง่ายและมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ซื้อโดยตรง

4. จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานส่งโครงการ เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม