ข้าพเจ้านางสาวพิมพ์คุณัชญ์ ชาวไร่เงิน ประเภทประชาชน AG04-1ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์

 

หลักสูตร: AG04-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

 

ดิฉันนางสาวพิมพ์คุณัชญ์ ชาวไร่เงิน ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ระยะโครงการ 3 เดือนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลแบบบูรณาการซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

สำหรับในช่วงเดือนสิงหาคม ดิฉันได้ทำการลงพื้นที่บ้านหนองหว้า ม.10-11 ต.นาโพธิ์ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ได้ทำการสำรวจวิถีชีวตของคนในชุมชน ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต อาชีพ รายได้ในครัวเรือน ซึ่งในวันนี้ดิฉันจะนำพาทุกท่านมาเรียนรู้การอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดีให้กับครอบ นั้นก็คือ อาชีพเลี้ยงสัตว์(วัว) ที่สามารถเป็นอาชีพที่ทำให้ครอบครัวมีรายได้เป็นอย่างดี และได้รับความอนุเคราะห์จากคุณ สมจิต สุวรรณบุตร เกษตรกรอีก1ท่านที่จะให้ความรู้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์(วัว) ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมสถานที่เลี้ยง(คอกวัว) วิธีการเลี้ยงรวมถึงการให้อาหารด้วยหญ้าอาหารเสริมและการจำหน่าย

การเตรียมสถานที่เลี้ยง(คอก)

การเตรียมสถานที่หรือพื้นที่ที่จะเลี้ยงวัวคือพื้นที่ที่วัวจะอยู่เติบโต ใช้ชีวิตในช่วงเวลาก่อนที่วัวจะพร้อมสู่การนำไปจำหน่ายสู่ตลาดได้ เพราะเนื่องจากวัวเป็นสัตว์ที่มีขนาดตัวที่ใหญ่ พื้นที่ในการเลี้ยงจึงต้องใช้บริเวณที่มีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนวัวที่เลี้ยง การทำคอกนั้นสามารถทำได้ด้วยวัสดุที่เป็นธรรมชาตเช่น ลำต้นไม้ยูคาลิปตัส ต้นไผ่ เป็นต้น

วิธีการเลี้ยงและดูแลวัว   

การเลี้ยงของคนในชุมชนจะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยลงทุ่งนา ตามสวนตนเอง เพราะเป็นการเลี้ยงที่สะดวกฝูงวัวก็จะจับกลุ่มเดินกินหญ้าตามทุ่งนาด้วยกัน ส่วนในช่วงของฤดูการทำนา เกษตรกรแต่ละคนจะเลี้ยงในบริเวณพื้นที่บ้านหรือตามสวนของตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายของนาข้าวจึงทำการงดนำสัตว์ออกเลี้ยงบริเวณนอกทุ่งนา ส่วนการดูแลสัตว์เลี้ยงก็จะเป็นการให้อาหารเสริมชนิดเม็ดแบบสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มใยอาหารให้กับสัตว์ในช่วงที่งดออกเลี้ยงนอกบริเวณ เพื่อไม่ให้วัวขาดสารอาหารและการฉีดวัคซีนต่างๆสำหรับสัตว์แต่ละตัว

 

       

                    

 

การขาย-จำหน่าย สู่ท้องตลาด 

สำหรับการขายสู่ท้องตลาด เกษตรก่อนส่วนมากในชุมชนจะทำการขายก็ต่อเมื่อที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายหรือภาระที่ไม่สามารถหามาได้ให้ทันที การขายต่อครั้งเช่น 1 ปี 1 ตัว ซึ่งในส่วนที่ขายคือ วัวที่มีลักษณะที่ให้ลูกแล้วและเลิกกินนมแม่แล้ว จึงจะขายเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นที่สุด