ผู้เขียนบทความ

นางสาววรรณา กาวไธสง

ข้าพเจ้า นางสาววรรณา กาวไธสง ประเภทประชาชน ทำงานภายใต้ (โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG and Regional Development) ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายลงพื้นที่ติดตามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านจานหมู่10 เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มีผ้าไหมทอมือ แบบผ้าพันคอ และ ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหม เข็มกลัดผีเสื้อ

ภาพที่1 ผลิตภัณฑ์บางส่วนของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านจานหมู่10 ที่กำลังดำเนินการพัฒนา

จากการที่ข้าพเจ้าลงสำรวจพื้นที่พร้อมทีม AG09-2 ในตำบลบ้านจาน พบว่าในพื้นที่มีวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างลาย สี และกลิ่นลงบนผืนผ้า                  โดยนำใบไม้ เปลือกไม้ และสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่นมาพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ให้ดูโดดเด่น มีเอกลักษณ์

ภาพที่2 ลงพื้นที่สำรวจวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์

กิจกรรมและแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทีม AG09-2 ตำบลบ้านจาน

1.การใช้ใบไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างสร้างลวดลายและสีสรรค์บนผืนผ้า

2.การใช้สมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าและเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการอบ

ภาพที่3 การนำใบไม้มาสร้างสีและลายลงบนพื้นผ้าไหม และการอบสมุนไพรเพื่อให้มีกลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ

สำหรับการอบสมุนไพรเพื่อให้มีกลิ่นหอม ได้นำมาใช้อบผลิตภัณฑ์ เข็มกลัดผีเสื้อ ที่ทำจากเศษผ้าไหม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่มีมาแต่โบราณนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งปลูกไว้ทดแทนด้วย

สมุนไพรที่ใช้ ได้แก่

หัวไพล  ดอกมะลิ ดอกบุสราคำ รากสาวหลง  ผิวมะกรูด

วิธีการอบผ้าให้มีกลิ่นหอมด้วยสมุนไพร

1.หั่นสมุนไพรเป็นชิ้นเล็กๆ

2.ผึ่งลมให้แห้ง

3.เอาสมุนไพรห่อด้วยใบตอง เอาเข็มกลัดผีเสื้อ วางใว้บนสมุนไพร

4.นำไปนึ่งประมาณ 15 นาที เอาผีเสื้อออก

ภาพที่4 สมุนไพรที่นำมาใช้ในการอบ

ภาพที่5 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการพัฒนาให้มีสีและลายแบบธรรมชาติ อบด้วยสมุนไพร