บทความประจำเดือน กันยายน 2565 กลุ่ม AGO1-1 ผู้ดำเนินการให้ความรู้การทอผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่สีธรรมชาติบ้านหนองดุม
ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
เขียนโดย : นางอนงค์ ทบแก้ว
บทความประจำเดือนกันยายน 2565
ผู้ดำเนินการให้ความรู้การทอผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่สีธรรมชาติบ้านหนองดุม
ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่ม AGO1-1 ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันนางอนงค์ ทบแก้ว ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ให้ข้อมูลการแปรรูปกระเป๋าสีธรรมชาติและเป็นผู้ดำเนินการให้ความรู้การทอผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่สีธรรมชาติบ้านหนองดุม AG01-1
- กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG01-1 ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 เข้าร่วมประชุมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อรับทราบการทำงานในเดือนกันยายน
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ด้านการทำผ้าขาวม้าและผ้าเช็ดหน้าสีธรรมชาติบ้านตูมน้อย
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 ให้ความรู้การทอผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่สีธรรมชาติบ้านหนองดุม
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยภายในกลุ่ม AG01-1 เพื่อรับฟังความคิดเห็นภายในทีม AG01-1
- คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 จัดทำบทความประจำเดือนกันยายน
- การทอผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่สีธรรมชาติบ้านหนองดุม
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หมายถึงผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้เมื่อกระบวนการแปรรูปเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกแบบรูปทรงกระเป๋าลงในกระดาษตามต้องการ แล้วลอกแบบลงบนแผ่นหนัง ใช้มีดหรือกรรไกรตัดริมหนังให้เท่ากับแบบที่ลอกไว้ ใช้สำลีชุบน้ำลูบบนผิวของหนังให้ทั่ว เพื่อให้หนังอิ่มตัว สะดวกในการดุนหรือสลักลวดลาย ออกแบบลวดลายแล้วลอกลงผืนหนังที่ตัดเป็นรูปทรงกระเป๋า ซึ่งจะเลือกใช้วิธีก๊อบปี้หรือเขียนให้เหมือนแบบก็ได้ขั้นตอนการผลิตกระเป๋าผ้า หรือสั่งทำกระเป๋าผ้าขายส่งกับทางโรงงานของเรามีขั้นตอนง่ายๆที่ลูกค้าสามารถทำกระเป๋าผ้าสวยๆกับเราได้เลยเหมาะกับลูกค้าที่กำลังหาของพรีเมี่ยมสวยๆ
ขั้นตอนการทำกระเป๋าผ้าสีธรรมชาติ
การทอผ้า หรือ “การทอ” ถือเป็นศิลปะและหัตถกรรมหรืองานฝีมืออย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นกรรมวิธีการผลิตผืนผ้าโดยใช้เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนมาขัดประสานกันจนได้เป็นผืนผ้า ทั้งนี้ต้องมีเครื่องมือในการทอ เรียกว่า หูก หรือกี่ กิจกรรมการทอผ้านั้น นอกจากเป็นขั้นตอนการผลิตเครื่องนุ่งห่ม หนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์แล้ว ยังถือเป็นงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ด้วย เนื่องจากมีการให้สีสันและลวดลายต่างๆ ในผืนผ้า ปัจจุบันแม้จะมีการใช้เครื่องจักรสำหรับทอผ้า ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการควบคุมการผลิตและออกแบบลายผ้า แต่การทอผ้าด้วยมือก็ยังเป็นศิลปะที่ได้รับการยกย่องและชื่นชมเสมอมา
แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยหรือภูไท การทอผ้าแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) อพยพเคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหมที่มีภูมิปัญญาในการทอด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจก ที่มีลวดลายโดดเด่น ที่มีภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มภูไท
ผ้าแพรวามีความหมายรวมกันว่า ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงที่เรียกว่าผ้าเบี่ยงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาลบุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ โดยประเพณีทางวัฒนธรรมของหญิงสาวชาวภูไทจะต้องยึดถือปฏิบัติคือ จะต้องตัดเย็บผ้าทอ 3 อย่างคือ เสื้อดำ ตำแพร (หมายถึงการทอผ้าแพรวา) ซิ่นไหม ผ้าแพรวานิยมทอด้วยไหมทั้งผืน มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายนับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้นับความนิยมสูง ในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีการทอผ้าไหมแพรวาที่งดงามและมีชื่อเสียง
ผ้าแพรวาได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง เมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวภูไท บ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง หรือเรียกว่า ผ้าเบี่ยง ได้ทรงสนพระทัยมากจึงโปรดให้มีการสนับสนุน และได้มีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นผ้าผืนสำหรับตัดเสื้อผ้าได้ อีกทั้งพัฒนาลวดลายให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาด การพัฒนาการทอผ้าแพรวาเกิดขึ้นเพราะพระบารมีของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความงาม และคุณค่าแห่งศิลปะชิ้นนี้ในครั้งนั้น
- ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา
ผลจากทำงานภายในเดือนกันยายน ได้พบปัญหาในให้ข้อมูลการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าสีธรรมชาติ มีรูปแบบไม่ทันสมัยและไม่มีคามหลากหลาย มีรูปแบบไม่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงได้ปรับรูปแบบการทำกระเป๋าให้มีความหลากหลายส่งผลให้มีลูกค้ามาสนใจมากขึ้น และมีปัญหาด้านการให้ข้อมูลด้านแปรรูปกระเป๋าสีธรรมชาติ ทางทีม AG01-1 ได้แก้ไขปัญหาโดยการให้แม่ อนงค์ ทบแก้ว กับทางกลุ่มศูนย์การเรียนรู้สีธรรมชาติฝึกทักษะการเป็นวิทยากรอย่างเป็นทางการ
- สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นของตำบลตูมใหญ่
- ได้เรียนรู้การประสานงานกับทางทีม AG01-1
- ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยี
- ได้เรียนรู้ถึงการออกแบบลวดลายกระเป๋าสีธรรมชาติ
- ได้เรียนรู้การทำบทความประจำเดือน
- ได้เรียนรู้การออกแบบโลโก้ของตำบลบ้านจาน
- ได้เรียนรู้ถึงการให้ความรู้ด้านการทำกระเป๋าสีธรรมชาติ
- ได้เรียนรู้ถึงการออกแบบกระเป๋าสีธรรมชาติ
แผนการดำเนินงานต่อไป
ภายในเดือนกันยายน 2565 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG01-1 มีแผนการดำเนินงานดังนี้
- ประชุมวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนกันยายน โดยมุ่งเน้นการติดตามผลความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าทอมือสีธรรมชาติ (กระเป๋า) และผ้าขาวม้าสีธรรมชาติ อย่างต่อเนื่อง
- การพัฒนาร้านค้าออนไลน์ ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) อาทิ Facebook Instagram Tiktok และ Shopee อย่างต่อเนื่อง
- . คืนองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับชุมชน เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อไป
- จัดทำรายงานสรุปแผนการดำเนินงาน เพื่อจัดทำรูปเล่มรายงานปิดโครงการ
หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม