ดิฉัน นางสาวจิราลักษณ์ แก้วกล้า ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบคือ บ้านจาน ม.10 ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างสีและลวดลายจากวัสดุธรรมชาติ ลงบนผืนผ้าไหมทอมือ และมัดย้อมสีธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น แบบผ้าพันคอ และเข็มกลัดผีเสื้อ
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG09-2
ภาพถ่ายในวันอบรม
หลักการย้อมสีธรรมชาติ
** พืชที่ให้สีและสามารถนำมาผลิตสีเพื่อการย้อมนี้ มีได้ตั้งแต่ต้นหญ้าไปจนถึงต้นไม้ขนาดใหญ่และทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ดอก ผล ลำต้น เปลือก แก่น ราก หัวหรือ เหง้าในดิน ซึ่งแต่ละชนิด แต่ละส่วนของพืชจะให้สีสีนที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความอ่อน แก่ สด แห้ง ช่วงเวลา เดือน และฤดูกาลที่เก็บด้วย พืชที่ให้สีติดเส้นฝ้ายดีนั้นมักเป็นพืชที่มีรสฝาด เพราะความฝาดจะมีฤทธิ์เป็นด่าง ข้อสังเกตง่าย ๆ ของพืชที่ให้รสฝาด คือ ใบหรือดอกที่ถูกขยี้จะมียางติดมือ ถ้าเป็นผลหรือเปลือก หากใช้มีดขูดจะมียางออกมา ซึ่งเมื่อถูกกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
วัสดุที่ใช้ในการย้อมสีไหมธรรมชาติ มีดังนี้
วัสดุที่ใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ
หลักการเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ
1. หากวัตถุดิบที่ให้เป็นสีจากเปลือกไม้ แก่นไม้ กิ่งไม้ เช่น แก่นฝางแดง แก่นขนุน เปลือกต้นประดู่ เป็นต้น ให้ทำการสับหรือผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. ชั่งเปลือก/ชิ้นไม้ที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 3 กิโลกรัม ใส่ลงในกะละมัง/หม้อสแตนเลส เติมน้ำปริมาณ 20 ลิตร แล้วแช่ค้างคืนไว้
3. นำกะละมัง/หม้อสแตนเลส ที่แช่เปลือกไม้ ไปต้มให้เดือด ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้สีที่อยู่ในเปลือก/ชิ้นไม้ละลายออกมาให้มากที่สุด (ระหว่างต้ม หากน้ำลดลงให้เติมน้ำลงไปให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม) เมื่อครบเวลาให้ใช้กระชอนตักเปลือก/ชิ้นไม้ออก แล้วกรองน้ำสีด้วยผ้าขาวบาง
ภาพการต้มเพื่อย้อมสีจากใบไม้
หลักการออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO)
โลโก้ คือชื่อ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าของกลุ่ม มีลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบโดดเด่น หรือเป็นภาพที่มีชื่อกลุ่มอยู่ด้วย เป็นสัญลักษณ์หรือมิเช่นนั้น ก็ประกอบขึ้นด้วยทุกองค์ประกอบที่กล่าวมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ของโลโก้ก็ คือ การบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของกลุ่ม การออกแบบโลโก้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ (สินค้า) เคล็ดลับนั้นมีอยู่ด้วยกัน 10 ข้อคือ
1. เน้นความเรียบง่ายเป็นหัวใจหลัก
– ขอให้ระลึกไว้ว่า โลโก้เป็นบันไดเพียงขั้นหนึ่ง ไม่อาจให้คำอธิบายแผนงานทั้งหมดบนบันไดเพียงขั้นเดียว
2. ดึงดูดใจผู้พบเห็น
– ควรมีที่ว่างให้ผู้พบเห็นค้นหาความหมายที่ต้องการสื่อออกมา ทางโลโก้นั้นด้วยตนเองบ้าง ทั้งนี้ต้องดูไม่ยากเกินไปด้วย
3. มองไปข้างหน้า
– คิดถึงความยั่งยืนของโลโก้
4. ใช้ภาพแบบเวคเตอร์
– นั่นคือลายเส้นที่สะอาดตาชัดเจน ไม่ใช้สีมาก เนื่องจากภาพแบบเวคเตอร์นั้น จะให้ทั้งความตัดกัน ( contrast ) และความสมดุล ( balance) ในตัว
5. มีความยืดหยุ่น
– พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
6. จดจำได้ง่าย
7. สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์
– โลโก้จะต้องออกมาทำให้ลูกค้าสามารถจินตนาการถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราได้ง่ายด้วย
8. เลือกสีอย่างสร้างสรรค์
– เลือกสีโลโก้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม อาจใช้สีโลโก้ต่าง ๆ กันไปได้บนวัสดุต่างๆ
9. มีเอกลักษณ์เฉพาะตน
– มองกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะออกแบบโลโก้ เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของธุรกิจเพื่อให้โลโก้ไม่ไปคล้ายคลึงกับของผู้อื่น
10. ใช้ได้ในทุกลักษณะ
– โลโก้ที่ดีควรใช้ได้ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบนป้ายหัวกระดาษเขียนจดหมาย นามบัตร ตัวสินค้าหรือเว็บไซต์ บางครั้ง โลโก้สามารถใช้ได้ดีบนเว็บไซต์หรือบิลบอร์ด เพราะฉะนั้ควรคำนึงถึงจุดนี้ เนื่องจากในการสร้างความจดจำในแบรนด์นั้น จะต้องเผยแพร่โลโก้และภาพลักษณ์ให้สม่ำเสมอที่สุดเท่าที่จะทำได้
โลโก้และบรรจุภัณฑ์
หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
“บรรจุภัณฑ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าในการจัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม จะเห็นได้ว่าบรรจุภัณฑ์มีบทบาทอย่างมากในสภาพสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ ยังมีความสัมพันธ์กับศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย” องค์ประกอบสำคัญของบรรจุภัณฑ์ ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ และเกิดความพึงพอใจในสินค้า มีดังนี้
- ภาชนะบรรจุ (Pack) กล่อง ถุง
- ฉลาก (Label) คือสิ่งที่แปะติดหรือพิมพ์ลงภาชนะบรรจุ
- ยี่ห้อ (Brand name) คือชื่อเรียกสินค้าทั่วไป
- เครื่องหมายการค้าที่ใช้โฆษณา(Logo) จะออกแบบให้มีลักษณะเด่น เพื่อให้เกิดการจดจำ
- บอกวิธีใช้สินค้า (Literature) เป็นส่วนที่ให้รายละเอียด แจ้งสรรพคุณ วิธีใช้ บางครั้งอาจเป็นคู่มือสินค้า
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้เรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น
- ได้เรียนรู้เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ได้เรียนรู้ถึงการทดสอบการตกสีของผ้าไหม
แผนการในการดำเนินงานต่อไป
มีแผนการดำเนินงานพัฒนาต่อยอดเรื่องการขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางออนไลน์ Facebook TikTok Shopee รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตำบลบ้านจาน