ดิฉัน นางสาวจิราลักษณ์ แก้วกล้า ประเภท  บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบคือ บ้านจาน ม.10 ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างสีและลวดลายจากวัสดุธรรมชาติ ลงบนผืนผ้าไหมทอมือ และมัดย้อมสีธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น แบบผ้าพันคอ และเข็มกลัดผีเสื้อ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG09-2


ภาพถ่ายในวันอบรม

   หลักการย้อมสีธรรมชาติ

** พืชที่ให้สีและสามารถนำมาผลิตสีเพื่อการย้อมนี้ มีได้ตั้งแต่ต้นหญ้าไปจนถึงต้นไม้ขนาดใหญ่และทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ดอก ผล ลำต้น เปลือก แก่น ราก หัวหรือ เหง้าในดิน ซึ่งแต่ละชนิด แต่ละส่วนของพืชจะให้สีสีนที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความอ่อน แก่ สด แห้ง ช่วงเวลา เดือน และฤดูกาลที่เก็บด้วย พืชที่ให้สีติดเส้นฝ้ายดีนั้นมักเป็นพืชที่มีรสฝาด เพราะความฝาดจะมีฤทธิ์เป็นด่าง  ข้อสังเกตง่าย ๆ ของพืชที่ให้รสฝาด คือ ใบหรือดอกที่ถูกขยี้จะมียางติดมือ ถ้าเป็นผลหรือเปลือก หากใช้มีดขูดจะมียางออกมา ซึ่งเมื่อถูกกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

วัสดุที่ใช้ในการย้อมสีไหมธรรมชาติ มีดังนี้


วัสดุที่ใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ

หลักการเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ

1. หากวัตถุดิบที่ให้เป็นสีจากเปลือกไม้ แก่นไม้ กิ่งไม้ เช่น แก่นฝางแดง แก่นขนุน เปลือกต้นประดู่ เป็นต้น ให้ทำการสับหรือผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. ชั่งเปลือก/ชิ้นไม้ที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 3 กิโลกรัม ใส่ลงในกะละมัง/หม้อสแตนเลส เติมน้ำปริมาณ 20 ลิตร แล้วแช่ค้างคืนไว้
3. นำกะละมัง/หม้อสแตนเลส ที่แช่เปลือกไม้ ไปต้มให้เดือด ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้สีที่อยู่ในเปลือก/ชิ้นไม้ละลายออกมาให้มากที่สุด (ระหว่างต้ม หากน้ำลดลงให้เติมน้ำลงไปให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม) เมื่อครบเวลาให้ใช้กระชอนตักเปลือก/ชิ้นไม้ออก แล้วกรองน้ำสีด้วยผ้าขาวบาง


ภาพการต้มเพื่อย้อมสีจากใบไม้

หลักการออกแบบตราสัญลักษณ์ (LOGO)

โลโก้  คือชื่อ  สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าของกลุ่ม  มีลักษณะเป็นตัวอักษรที่มีรูปแบบโดดเด่น  หรือเป็นภาพที่มีชื่อกลุ่มอยู่ด้วย  เป็นสัญลักษณ์หรือมิเช่นนั้น  ก็ประกอบขึ้นด้วยทุกองค์ประกอบที่กล่าวมารวมกัน แต่ไม่ว่าจะมีรูปแบบเป็นอย่างไร  วัตถุประสงค์ของโลโก้ก็ คือ  การบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของกลุ่ม  การออกแบบโลโก้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ (สินค้า) เคล็ดลับนั้นมีอยู่ด้วยกัน 10 ข้อคือ

1. เน้นความเรียบง่ายเป็นหัวใจหลัก
– ขอให้ระลึกไว้ว่า  โลโก้เป็นบันไดเพียงขั้นหนึ่ง  ไม่อาจให้คำอธิบายแผนงานทั้งหมดบนบันไดเพียงขั้นเดียว

2. ดึงดูดใจผู้พบเห็น 
– ควรมีที่ว่างให้ผู้พบเห็นค้นหาความหมายที่ต้องการสื่อออกมา ทางโลโก้นั้นด้วยตนเองบ้าง ทั้งนี้ต้องดูไม่ยากเกินไปด้วย

3. มองไปข้างหน้า
– คิดถึงความยั่งยืนของโลโก้

4. ใช้ภาพแบบเวคเตอร์
– นั่นคือลายเส้นที่สะอาดตาชัดเจน  ไม่ใช้สีมาก  เนื่องจากภาพแบบเวคเตอร์นั้น  จะให้ทั้งความตัดกัน ( contrast ) และความสมดุล ( balance) ในตัว

5. มีความยืดหยุ่น
– พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

6. จดจำได้ง่าย

7. สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์
– โลโก้จะต้องออกมาทำให้ลูกค้าสามารถจินตนาการถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราได้ง่ายด้วย

8. เลือกสีอย่างสร้างสรรค์
– เลือกสีโลโก้ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม อาจใช้สีโลโก้ต่าง ๆ กันไปได้บนวัสดุต่างๆ

9. มีเอกลักษณ์เฉพาะตน
    – มองกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะออกแบบโลโก้  เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของธุรกิจเพื่อให้โลโก้ไม่ไปคล้ายคลึงกับของผู้อื่น

10. ใช้ได้ในทุกลักษณะ
    – โลโก้ที่ดีควรใช้ได้ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบนป้ายหัวกระดาษเขียนจดหมาย  นามบัตร  ตัวสินค้าหรือเว็บไซต์ บางครั้ง  โลโก้สามารถใช้ได้ดีบนเว็บไซต์หรือบิลบอร์ด เพราะฉะนั้ควรคำนึงถึงจุดนี้  เนื่องจากในการสร้างความจดจำในแบรนด์นั้น จะต้องเผยแพร่โลโก้และภาพลักษณ์ให้สม่ำเสมอที่สุดเท่าที่จะทำได้


โลโก้และบรรจุภัณฑ์

หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์

           “บรรจุภัณฑ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าในการจัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม จะเห็นได้ว่าบรรจุภัณฑ์มีบทบาทอย่างมากในสภาพสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ ยังมีความสัมพันธ์กับศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย” องค์ประกอบสำคัญของบรรจุภัณฑ์ ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ และเกิดความพึงพอใจในสินค้า มีดังนี้

  1. ภาชนะบรรจุ (Pack)  กล่อง  ถุง
  2. ฉลาก (Label) คือสิ่งที่แปะติดหรือพิมพ์ลงภาชนะบรรจุ
  3. ยี่ห้อ (Brand name) คือชื่อเรียกสินค้าทั่วไป
  4. เครื่องหมายการค้าที่ใช้โฆษณา(Logo) จะออกแบบให้มีลักษณะเด่น เพื่อให้เกิดการจดจำ
  5. บอกวิธีใช้สินค้า (Literature)  เป็นส่วนที่ให้รายละเอียด แจ้งสรรพคุณ วิธีใช้ บางครั้งอาจเป็นคู่มือสินค้า

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้​เรียน​รู้การย้อมสีธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น
  2. ได้เรียนรู้เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
  3. ได้​เรียน​รู้ถึงการทดสอบการตกสีของผ้าไหม

แผนการในการดำเนินงานต่อไป
       มีแผนการ​ดำเนินงานพัฒนาต่อยอดเรื่องการขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางออนไลน์ Facebook TikTok Shopee รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตำบลบ้านจาน