ผู้เขียนบทความ
นางสาววรรณา กาวไธสง

ข้าพเจ้า นางสาววรรณา กาวไธสง ประเภทประชาชน ทำงานภายใต้ (โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินงานมีเป้าหมายลงพื้นที่ติดตามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านจานหมู่10 เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มีผ้าไหมทอมือ แบบผ้าพันคอ และ ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าไหม เข็มกลัดผีเสื้อ

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ AG09-2

ภาพถ่ายร่วมกันในวันอบรม

การย้อมสีธรรมชาติ
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ
1.1 หม้อย้อมควรใช้หม้อสแตนเลส หม้อเคลือบ หรือกระทะใบบัว ไม่ควรใช้หม้ออะลูมิเนียม และควรเลือกขนาดหม้อให้เหมาะสมกับการย้อมผ้า หรือเส้นด้าย
1.2 ไม้กวนผ้า โดยไม้ควรมีขนาดใหญ่พอที่จะรับน้ำหนักเส้นด้ายเส้นเปียกในหม้อย้อมได้
1.3 ห่วงที่ทำจากสแตนเลส หรือท่อนพลาสติกอ่อน ไว้สำหรับแขวน หรือคล้องเส้นไหม/เส้นฝ้าย
1.4 ถุงมือยาง เทอร์โมมิเตอร์ เขียง มีด เขียง ครก ( สำหรับตำครั่ง ) ราวตากผ้า ( สำหรับตาก)
1.5 กะละมัง หรือถังพลาสติก สำหรับล้างผ้า หรือเส้นด้ายก่อนย้อมและหลังย้อม
1.6 เตาไฟ จะเป็นเตาฟืน หรือเตาแก๊สก็ได้

พืชที่ให้สีและสามารถนำมาผลิตสีเพื่อการย้อมนี้ มีได้ตั้งแต่ต้นหญ้าไปจนถึงต้นไม้ขนาดใหญ่และทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ดอก ผล ลำต้น เปลือก แก่น ราก หัวหรือ เหง้าในดิน ซึ่งแต่ละชนิด แต่ละส่วนของพืชจะให้สีสีนที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความอ่อน แก่ สด แห้ง ช่วงเวลา เดือน และฤดูกาลที่เก็บด้วย พืชที่ให้สีติดเส้นฝ้ายดีนั้นมักเป็นพืชที่มีรสฝาด เพราะความฝาดจะมีฤทธิ์เป็นด่าง  ข้อสังเกตง่าย ๆ ของพืชที่ให้รสฝาด คือ ใบหรือดอกที่ถูกขยี้จะมียางติดมือ ถ้าเป็นผลหรือเปลือก หากใช้มีดขูดจะมียางออกมา ซึ่งเมื่อถูกกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

2. ปริมาณของวัตถุดิบที่ต้องการสกัดสี
– กรณีใช้วัตถุดิบให้สีเป็นใบไม้ จะใช้ใบไม้จำนวน 5 กิโลกรัมต่อฝ้าย/ไหม 1 กิโลกรัม
– กรณีใช้วัตถุดิบให้สีเป็นเปลือกไม้ จะใช้เปลือกไม้จำนวน 3 กิโลกรัมต่อฝ้าย/ไหม 1 กิโลกรัม

3. การเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ
3.1 หากวัตถุดิบที่ให้เป็นสีจากเปลือกไม้ แก่นไม้ กิ่งไม้ เช่น แก่นฝางแดง แก่นขนุน เปลือกต้นประดู่ เป็นต้น ให้ทำการสับหรือผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
3.2 ชั่งเปลือก/ชิ้นไม้ที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 3 กิโลกรัม ใส่ลงในกะละมัง/หม้อสแตนเลส เติมน้ำปริมาณ 20 ลิตร แล้วแช่ค้างคืนไว้
3.3 นำกะละมัง/หม้อสแตนเลส ที่แช่เปลือกไม้ ไปต้มให้เดือด ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้สีที่อยู่ในเปลือก/ชิ้นไม้ละลายออกมาให้มากที่สุด (ระหว่างต้ม หากน้ำลดลงให้เติมน้ำลงไปให้อยู่ในปริมาณเท่าเดิม) เมื่อครบเวลาให้ใช้กระชอนตักเปลือก/ชิ้นไม้ออก แล้วกรองน้ำสีด้วยผ้าขาวบาง

       ตัวอย่างการเตรียมสารช่วยย้อม หรือสารช่วยติดสี
1) สารส้ม
== มีคุณสมบัติช่วยจับยึดสีกับเส้นด้าย และช่วยให้สีสดสว่างขึ้น มักใช้กับการย้อมด้วยพืชที่ให้เแดสีน้ำตาล-เหลือง-เขียว เช่น แก่นแข ใบหูกวาง เปลือกประดู่ เปลือกมะพร้าว เป็นต้น
2) สนิมเหล็ก
== ช่วยให้สีติดเส้นด้ายและช่วยเปลี่ยนเฉดสีธรรมชาติเดิมเป็นสีโทน เทา-ดำ แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่กินไป เพราะเหล็กจะทำให้เส้นด้ายเปื่อยง่าย
หมายเหตุ : สารส้ม และสนิมเหล็ก ต้องละลายด้วยน้ำอุ่นเท่านั้น ห้ามละลายด้วยน้ำเย็น
3) น้ำปูนใส
== ได้จากปูนขาวที่ใช้กินกับหมาก หรือทำจากการเผาเปลือกหอย โดยการละลายปูนขาวหรือเปลือกหอยที่ผ่านการเผาในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน จะได้น้ำปูนใสมาใช้เป็นสารช่วยย้อมต่อไป ห้ามใช้ปูนแดงในการทำน้ำปูน ต้องเป็นปูนที่ผสมด้วยขมิ้นเท่านั้น ( สีปูนจะเป็นสีแดงอิฐ ) ห้ามเป็นปูนแดงที่ได้จากการนำปูนขาวผสมด้วยสีแดงผสมอาหาร
4) น้ำด่าง หรือน้ำขี้เถ้า
== ได้จากขี้เถ้าพืชเนื้ออ่อน เช่น ส่วนต่าง ๆ ของกล้วย เปลือกของผลนุ่น กากมะพร้าว เป็นต้น ทำได้โดยเลือกพืชชนิดหนึ่งที่ยังสด นำมาผึ่งแดดให้หมาด แล้วเผาให้เป้นขี้เถ้าสีขาว นำขี้เถ้าที่ได้ไปใส่ในอ่างที่มีน้ำอยู่ กวนให้ทั่วทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง ขี้เถ้าจะตกตะกอน นำน้ำที่ได้ไปกรองให้สะอาดแล้วจึงนำไปใช้งาน
5) น้ำบาดาล หรือน้ำสนิมเหล็ก
== จะใช้น้ำบ่อบาดาลที่เป็นสนิม หรือนำเหล็กไปเผาไฟให้แดงแล้วนำไปแช่ในน้ำทิ้งไว้ 3 วัน จึงนำน้ำสนิมมาใช้ได้ น้ำสนิมจะช่วยให้สีเข้มขึ้น ให้เฉดมี เทา-ดำ เหมือนเกลือเหล็ก
6) น้ำโคลน
== ใช้ดินโคลนจากก้นสระที่มีน้ำขังตลอดปีมาละลายในน้ำเปล่า สัดส่วนน้ำ 1 ส่วนต่อดินโคลน 1 ส่วน จะช่วยให้สีเข้มหรือโทนสี เทา-ดำ เช่นเดียวกับน้ำสนิม ( กรองเอาสิ่งแปลกปลอมออกให้เหลือแต่ดินโคลนเหลว ๆ )

การย้อมสีธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติที่ให้สี เช่น

ใบสัก

แก่นฝาง


ดินโคลน


หัวกล้วย


ใบเตย


ฝักคูณสด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้​เรียน​รู้การย้อมสีธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น
  2. ได้เรียนรู้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าไหม แบบผ้าพันคอ และกระบวนการทดสอบการตกสีของผ้าไหม
  3. ได้​เรียน​รู้เรื่องการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการ

แผนการในการดำเนินงานต่อไป
       มีแผนการ​ดำเนินงานพัฒนาต่อยอดเรื่องการขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางออนไลน์ Facebook TikTok Shopee รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตำบลบ้านจาน