ข้าพเจ้านายปฏิพล สังสีแก้ว ผู้ปฏิบัติงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ประเภทบัณฑิตจบใหม่ พื้นที่ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความนี้ข้าพเจ้าขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในตำบลบ้านยาง ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตำบลบ้านฃยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

ณัฐพงษ์ บุญปอง (2564) กล่าวว่า ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) หมายถึง สิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยเฉพาะเป็นปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตที่มนุษย์สามารถเสาะแสวงหามาใช้ เช่น พืช สัตว์ แร่ธาตุ ป่าไม้ ถ่านหิน และน้ำมัน เป็นต้น สามารถแบ่งทรัพยากรธรรมชาติออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมดสิ้น (non-exhausting natural resource) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาก พบได้ทุกแห่งในโลก มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทรัพยากรเหล่านี้หากใช้ไม่ดี ไม่มีการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ทรัพยากรที่มีค่ามหาศาลเหล่านี้อาจเสื่อมสภาพไปจนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ได้แก่ น้ำ อากาศ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์

2.  ทรัพยากรธรรมชาติที่บำรุงรักษาให้คงสภาพอยู่ได้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่บนผิวโลกตามแหล่งต่าง ๆ ถ้ามนุษย์ใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างถูกต้องและมีการบำรุงรักษาแล้วทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้จะยังคงอยู่และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป ได้แก่ ดิน ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า พลังงานมนุษย์

3.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสิ้นเปลือง เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้หรือไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือถ้าทำได้ก็กินเวลานานนับพันนับหมื่นปีทรัพยากรเหล่านี้ ได้แก่ แร่ธาตุ (รวมทั้งน้ำมันถ่านหิน) และทิวทัศน์ที่สวยงาม

ภาพที่ 1 ตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มา: https://pixabay.com/th, vitieubao.

จากที่ ณัฐพงษ์ บุญปอง (2564) ได้กล่าวถึงความหมาย และประเภทของทรัพยาการธรรมชาตินั้น พบว่าในตำบลบ้านยางที่สมาชิก U2T ได้ไปลงเก็บข้อมูลนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และเห็นค่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านั้นมีตั้งแต่ น้ำ อากาศ และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการจัดการทรัพยากรมีการจัดการดังนี้ น้ำ ชาวบ้านจะทำบ่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ อักทั้งยังมีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในการบริโภคและจำหน่าย เป็นการหมุนเวียนธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง

ณัฐพงษ์ บุญปอง. (2564). ทรัพยากรธรรมชาติ. สืบค้น 18 กันยายน 2565, จาก https://www.scimath.org/lesson-biology/item/11674-2020-06-30-07-32-32