การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง
โควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG)
ข้าพเจ้า นางสาวฑิตฐิตา คะหาญ เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนกรกฏาคม 2565 นี้ อาจารย์ประจำตำบลได้ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงและวางแผนการทำงานเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการการลงพื้นที่ส่วนหม่อนของคุณสุริเยนทร์ สมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาน6ไร่
คุณสุริเยนทร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไหมว่าปัจจุบันนั้นในชุมชนบ้านขามน้อย หนองปรือ หนองโสน ณ ขณะนี้เป็นการเลี้ยงไหมแบบอุตสาหกรรม เลี้ยงรังส่งโรงงานจุลไหมไทยโดยตรง ใน ขณะลงส่วนหม่อนนั้นก็ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธ์ว่า ประกอบด้วย 2 สายพันธ์ ได้แก่ พันธ์สกลนคร ลักษณ์เด่นคือใบหนา มีความทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ขยายพันธ์ง่าย
2.พันธ์บุรีรัมย์ ลักษณ์เด่นคือ มีความต้านทานต่อโรคใบด่าง ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่
ณ ปัจจุบันคุณสุริเยนทร์ เลี้ยงเฉพาะไหมวัยอ่อนใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 7 วัน และตัวหม่อนก็กินเฉพาะใบอ่อน จึงทำให้ส่วนหม่อนมีปริมานใบหม่อนแก่มากเกินไป และกิ่งที่ตัดทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ข้าพเจ้าและทีมงานได้มีการเสนอผลิตภัณฑ์ขึ้น 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.กระดาษสามัลเบอร์รี่ ส่วนที่ใช่ประกอบไปด้วย ลำต้นและใบ 2.สาร่ายมัลเบอร์รี่ ส่วนที่ใช่ประกอบไปด้วย ใบ
ในเดือนนี้ข้าพเจ้าและทีมงานได้มีการวางแผนการทำกระดาษสามัลเบอร์รี่และสาร่ายมัลเบอร์รี่ วางแผนการทำบรรจุภัณฑ์ วางแผนการผลิตรูปแบบของสินค้า รวมถึงวางแผนการตลาดว่าจะทำออกมาในรูปแบบใดบ้างเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสร้างอาชีพให้คนในชุมชนสามารถต่อยอดไปในอนาคตได้