การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG)
ข้าพเจ้า นางสาวฑิตฐิตา คะหาญ เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตำบลเย้ยปราสาท อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ผลการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2565 มีดังนี้
วันที่ 1 สิงหาคม 65 ข้าพเจ้าและทีมงานได้รวมกลุ่มกันทดลองทำผลิตภัณฑ์ สาหร่ายมัลเบอร์รี่และกระดาษสามัลเบอร์รี่
1.สาหร่ายมัลเบอร์รี่
อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี
- ใบหม่อน (นำก้านใบออกแล้ว) 150 กรัม
- น้ำ(ส่วนที่1) 100 มิลลิลิตร
- แป้งมันสำปะหลัง 15 กรัม
- แป้งข้าวเหนียว 5 กรัม
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ 10 กรัม
- น้ำ(ส่วนที่ 2 ) 100 มิลลิลิตร
- น้ำมันพืช
- กระทะ
- ถุงร้อน
- พาชนะสำรับตากแดด
ขั้นตอนการทำ
- นำใบหม่อนไปล้างน้ำให้สะอาด และเอาก้านใบออก
- นำใบหม่อนลวกน้ำร้อน 3 นาที และนำมาทำให้เย็นทันทีโดยแช่น้ำเย็น
- นำใบหม่อนที่เอาก้านใบออกแล้วมาปั่นกับน้ำส่วนที่ 1 โดยปั่นทีละน้อยให้เข้ากันจนกว่าจะละเอียดดี และเทใส่ภาชนะพักไว้
- นำแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลีอเนกประสงค์ เทลงภาชนะ และนำน้ำส่วนที่ 2 มาใส่ คนจนกว่าแป้งจะเข้ากันดี
- นำใบหม่อนที่ปั่นละเอียดแล้วกับแป้งที่ผสมไว้แล้วมาใส่ลงหม้อและนำไปตั้งไฟโดยคนไปเรื่อยๆจนกว่าแป้งจะสุก
- พอแป้งสุกพักไว้ให้เย็น แล้วนำถุงร้อนมารองถาด เทใบหม่อนที่ผสมแป้งลงถาด และนำถุงร้อนมาวางบนใบหม่อนอีกทีหนึ่งแล้วเกลี่ยใบหม่อนให้เสมอกันโดยเกลี่ยให้มีความหนาพอดี และไม่บางจนเกินไป ค่อยๆดึงถุงร้อนบนใบหม่อนออก และนำไปตากเเดด 4-6 ชั่วโมง หรือจนกว่าใบหม่อนจะแห้งพอใบหม่อนแห้งแล้วนำออกมาพักให้เย็น แล้วดึงถุงที่รองข้างล่างออก และตัดใบหม่อนเป็นชิ้นเตรียมไว้
- นำกระทะใส่น้ำมันตั้งไว้ให้ร้อนจัด แล้วนำใบหม่อนที่ตัดไว้ลงไปทอด โดยใช้ที่คีบคีบใบหม่อนลงไปจุ่มในน้ำมัน 3 วินาที แล้วนำขึ้นมาพักไว้และนำมารับประทานได้
2.กระดาษสามัลเบอร์รี่
อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี
- เครื่องสับ
- เปลือกเเละลำต้นของต้นหม่อน
- น้ำเปล่า
- บล็อกสำหรับทำกระดาษ
- โซดาไฟ
- กาว
- ดอกไม้สำหรับตกเเต่ง
ขั้นตอนการทำ
- นำเปลือกเเละต้นหม่อนใส่ลงไปในเครื่องสับให้ละเอียด
- นำเปลือกเเละต้นหม่อนที่สับเเล้วมาต้มด้วยโซดาไฟ ประมาน2-3 ชั่วโมง จากนั้น นำไปเทใส่พิมพ์สำหรับทำกระดาษกรองกระดาษให้เนื้อเรียบเนียน แล้วตกเเต่งให้สวยงาม
- นำไปตากเเดดรอจนแห้ง เเล้วลอกออกถือว่าเสร็จสมบูรณ์
วันที่ 3 สิงหาคม 65 ประชุมแบ่งกลุ่มสำรวจข้อมูล TCD
ข้าพเจ้าและทีมได้มีการประชุมแบ่งกลุ่มออกสำรวจ TCD ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ5คน ในตำบลเย้ยปราสาทนั้น มีหมู่บ้านทั้งหมด 10 หมู่บ้าน จึงแบ่งออกกลุ่มละ 5 หมู่บ้าน ในการสำรวจจัดเก็บข้อมูลในชุมชนนั้น ประกอบไปด้วย
การสำรวจจำนวนแหล่งน้ำในชุมชน การสำรวจจำนวนพืชในชุมชน การสำรวจจำนวนสัตว์ทุกชนิดในชุมชน
การสำรวจจำนวนเกษตรกรในชุ่มชน การสำรวจจำนวนร้านค้าในชุมชน การสำรวจจำนวนแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
การสำรวจอาหารประจำถิ่น การสำรวจที่พัก/โรงแรม การสำรวจผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
การสำรวจภูมิปัญญาท่องถิ่น ข้าพเจ้าและทีมจะต้องสำรวจข้อมูลโดยประมาน 500 กว่ารายการก่อนเสร็จสิ้นโครงการ
วันที่ 17 สิงหาคม 65
ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้ร่วมประชุมเกี่ยวกับโครงการร่วมกับท่านนายกทวีศักดิ์ ปรูกระโทก
นายก องค์การบริหารส่วนเย้ยประสาท เกี่ยวกับโครงการรวมถึงการวางแผนการทำสาหร่ายมัลเบอร์รี่และกระดาษสามัลเบอร์รี่
มีการพูดคุยปรึกษาหารือของผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการร่วมกับท่านนายกเกี่ยวกับเรื่องการยหาตลาดเบื้องต้น
วางแผนการประชุมปลายสิงหาคมจนถึงต้นเดือนกันยายน โดยมีการนำวิทยากรลงมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำสาหร่ายมัลเบอร์รี่และกระดาษสามัลเบอร์รี่ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 อย่าง ราบรื่นไปด้วยดี