จากการลงพื้นที่ ของกลุ่มที่ 1 รับผิดชอบหมู่1,2,3 *บ้านแดงใหญ่ ม.1 มี 160 หลังคาเรือน *บ้านหนองไผ่ ม.2 มี 157 หลังคาเรือน *บ้านโคกสะอาด ม.3 มี 72 หลังคาเรือน “การทอเสื่อกก” เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ “เสื่อกก” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป จากการสำรวจเเหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สาธารณะประโยชน์ พบว่ามีกก ขึ้นอยู่ ในปริมาณที่ไม่เยอะมาก เพียงพอต่อการทอแค่ในครัวเรือนเท่านั้น โดยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต
“การทอเสื่อกก” เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในชนบทที่ใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนามาถักทอ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม เมื่อว่างจากการทำเกษตรกรรม ก็จะมีการประกอบอาชีพเสริม วิธีการทอเสื่อ หรือในภาษาอีสานเรียกว่า การต่ำสาด เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างรายได้ บางครัวเรือนก็ทำเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว การทอเสื่อเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกก ต้นไหล หรือต้นผือ มาสอย(กรีดแบ่งให้เป็นเส้นบางๆ) ผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำไปย้อมสีตามที่ต้องการ จากนั้นนำไปทอเป็นผืนๆเพื่อนำไปใช้งาน บางส่วนทอเก็บไว้เพื่อทำบุญช่วงเทศกาลตามประเพณี โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คิดค้นลวดลายให้แปลกใหม่ เช่น ลายดอกลายน้อย ลายสมอคู่ และลายแพรวา ถักทอจนเป็นผืนสวยงาม พัฒนาต่อยอดโดยการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น ประณีต สวยงาม มีหลากหลายชนิด ผลิตจากเส้นใยที่มีคุณภาพเหนียวแน่นทนนาน ผิวมันละเอียด ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น โดยประชาชนในหมู่บ้าน จะทำกันในภาคครัวเรือนไม่ได้รวมกลุ่ม ทอเพื่อใช้ในครัวเรือน และรับจ้างทอให้ครัวเรือนภายในหมู่บ้านเพื่อเป็นรายได้เสริม เฉลี่ย หมู่บ้านละ 2-3 ราย ต่อผืนเฉลี่ยผืนละ 60 บาท ทั้งนี้ราคาแล้วแต่ลวดลายของเสื่อกก
ลักษณะของต้นกก ต้นกกมีลักษณะเหมือนหญ้า แต่กกจะมีลำต้นเป็นทรงสามเหลี่ยมหรือสามมุม ดอกจะมีลักษณะเป็นฝอยๆ ลำต้นจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ต้นกกมักจะเกิดในที่ชื้นแฉะ ขึ้นตามหนอง บึง