ข้าพเจ้านางสาวปกิตตา สัตย์โส ผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายน
สัปดาห์แรก คณะทีมงานตำบลหนองเยืองลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ให้ครบตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย และอาจารย์ประจำตำบล คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และวิทยากรจากจังหวัดลพบุรีได้มาที่ตำบลหนองเยือง ได้นำแบบลายผ้าที่ออกแบบไว้มาให้ทอและประสานงานกับกลุ่มขนมไทยสื่ออารมณ์และกลุ่มผ้าทอ เพื่อพูดคุยนัดหมายกันในการทำผลิตภัณฑ์ออกมาขายในการออกบูธในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สัปดาห์ที่ 2 คณะทีมงานตำบลหนองเยืองได้ดำเนินกิจกรรม ECT WEEK ในระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565 โดยวันที่ 5 ทีมงานตำบลหนองเยืองได้ติดต่อประสานงานกับกก.ศส.ปชต.ประจำตำบล (ครูกศน.ประจำตำบล) เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. วันที่ 6-8 ได้ลงพื้นที่ไปตามหมู่บ้านต่างๆในตำบลหนองเยือง เพื่อพูดคุยกับชาวบ้าน ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อในใบงานที่กำหนดให้ และวันที่ 9 ได้ทำการสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำใบงานของแต่ละวันส่งครูกศน.ประจำตำบล
สัปดาห์ที่ 3 คณะทีมงานตำบลหนองเยืองได้ร่วมกันปรึกษาเกี่ยวกับการออกบูธในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 จัดเตรียมสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ที่จะนำไปจำหน่ายในวันออกบูธ และเปิดขายสินค้าผ่านแอพ shopee และจัดทำ C05 และ C06 และวันที่ 15-18 ไปออกบูธที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
สรุปยอดขายเดือน กรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
เดือนกรกฎาคม
– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน
– ยอดขายผ้าทอพลิ่วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน
เดือนสิงหาคม
– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน
– ยอดขายผ้าทอพลิ่วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน
ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาสินค้า รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในเดือนกันยายน พร้อมทั้งทำการเปิดตลาดขายสินค้าออนไลน์ใน shopee ปรากฎว่ายอดขายผ้าทอพลิ้วบ้านโคกจิกเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 6,750 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%
ส่วนยอดขายของขนมไทยสื่ออารมณ์ เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 7,500 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%
สรุปการทำงานในเดือนกันยายนนี้ ได้ทำการเก็บข้อมูล TCD จนครบกำหนด ทำกิจกรรม ECT WEEK ปรึกษาหารือวางแผนกันในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อออกสู่ตลาด จัดทำ C05 และ C06 และไปออกบูธที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์