ข้าพเจ้า นางสาวปัทมา วงศ์เพ็ญ  ประเภท ประชาชน สังกัด ED02-1 ตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การดำรงชีวิตของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การดำเนินธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเช่นกันสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจคือเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด จึงต้องมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินการทางการตลาดเพื่อครองใจผู้บริโภค ซึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในปัจจุบันคือการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวัน Social media ยังคงเป็นกิจกรรมออนไลน์ที่คนไทยใช้เวลาเยอะที่สุดการที่คนทั่วไปจะขายของผ่านออนไลน์นั้น ช่องทาง Facebook เป็นช่องทางที่ทำได้ง่ายสุด และการใช้เครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนชาวไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งการใช้บริการออนไลน์ของภาคเอกชนและภาครัฐ กิจกรรมหลักที่เป็นที่นิยมคือการซื้อขายสินค้า และมูลค่ายอดขายสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี

ภายใต้กระแสโลกยุคดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นความท้าทายหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยในทุกระดับต้องมีการปรับตัว และเรียนรู้เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะขยายตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น ผู้ประกอบการชุมชนควรมีการเตรียมความพร้อม พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สวยงาม และพร้อมหาช่องทางการตลาดให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในการจัดการด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน ควรมีการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

หลายชุมชนทำการค้าแบบเดิมคือการขายตรงซึ่งในปัจจุบันการขายตรงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการแข่งขันในตลาดอีกทั้งเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปมากแต่หลายชุมชนยังไม่ได้ขยายช่องทางการตลาดทำให้เสียโอกาสในการขายสินค้าเนื่องจากผู้ผลิตสินค้า OTOP  ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นพ่อค้าแม่ค้ามาก่อนและถูกกระตุ้นให้ผลิตสินค้า OTOP ซึ่งเป็นผลผลิตจากทรัพยากรในท้องถิ่นหลายชุมชนมีความสามารถในการผลิตสินค้าจนได้รับการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP Product Champion: OPC) ซึ่งเป็นการคัดเลือกจากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพระดับดีเป็นสินค้าที่โดดเด่นแต่รางวัลไม่สามารถรับประกันว่าจะขายได้เสมอไปปัญหาทางการตลาดของสินค้าชุมชนจึงเป็นปัญหาที่พบอยู่ในขณะนี้ผลจากการที่ภาครัฐสนับสนุนให้ทุกตำบลเร่งผลิตสินค้า OTOP ในขณะที่ชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ทางด้านการตลาดและการขายตรงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการแข่งขันจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาร่วมด้วยเพื่อขยายช่องทางการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้นและสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการผู้บริโภคควรทำควบคู่ไปกับการขยายช่องทางการตลาดเพื่อให้ตรงกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มีความเร็วของข้อมูลอย่างมากผู้ประกอบกิจการจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบันสถานประกอบการที่ยังไม่มีเว็บไซต์ควรประเมินความพร้อมสภาพปัจจุบันรวมถึงปัญหาของกลุ่มเพื่อนำมาวิเคราะห์ในการขยายช่องทางการตลาดศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานประกอบการอื่นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการผลิตและหาแนวทางการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า

ดังนั้นความสำคัญของการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ จึบเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของตำบลถาวรให้เป็นที่รู้จักและขยายตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ และยังสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน