บทความประจำเดือน กันยายน 2565
เขียนโดย นางสาวอริสา ชัยสุวรรณ ภาคประชาชน
ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ED 01 คณะครุศาสตร์
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
เรื่อง เที่ยวชมผ้าภูอัคนีและเสื่อกก – แวะกราบหลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม
จากการลงพื้นที่ในชุมชนตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ “ดินแดนแห่งผ้าภูอัคนีที่ลือเลื่อง”ร่วมกับทีมงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2565 ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนตำบลเจริญสุข ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนแห่งวิถีประชาธิปไตย และชุมชนแห่งการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ที่มา : ถ่ายเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2565
ในตำบลเจริญสุข บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ การทอเสื่อก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนามาถักทอ คนบางส่วนทอเก็บไว้เพื่อทำบุญช่วงเทศกาลตามประเพณี โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คือ ใช้ต้นกกโดยการเก็บต้นกกมาจากคลองน้ำตามทุ่งนาและปลูกต้นไหลไว้ใช้เองตลอดปี ได้คิดค้นลวดลายให้มีความแปลกใหม่ ถักทอจนเป็นผืนสวยงาม
ที่มา : ถ่ายเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2565
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
- วัตถุดิบในการทอเสื่อกก
- เส้นกก
- สีเคมีหรือสีธรรมชาติ
- ด้ายหรือเส้นเอ็น
- อุปกรณ์ในการทอเสื่อกก ได้แก่ กาละมังย้อมสี ฟืมทอเสื่อกก หลอดด้าย กระสวย กี่ทอเสื่อกก
ขั้นตอนการผลิต
- นำต้นกกที่โตได้ขนาดมาจักโดยแยกใจกลางออกเอาแต่เปลือกนอก
- นำไปตากแดกให้แห้ง ๑-๓ แดด เก็บไว้ย้อมสีตามความต้องการ
- การย้อมสีกก ละลายสีในน้ำให้เข้มข้นต้มให้เดือด หย่อนกกในน้ำต้มเดือด สังเกตการอิ่มตัวของสี ยกกกที่ย้อมขึ้นดูน้ำที่หยดลงพื้นจะใสไม่มีสี เป็นอันว่ากกกินสีได้เต็มที่ นำกกออกไปผึ่งลมให้แห้ง เตรียมไว้ทอ
- ขั้นตอนการมัดหมี่/มัดย้อม หากต้องการลวดลายที่เป็นมัดหมี่หรือมัดย้อม ขบวนการขั้นตอนเหมือนการมัดหมี่ผ้าไหม ลวดลายที่ได้บางลายขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเก็บตะกอ เหมือนกับการทอผ้าไหมมัดหมี่
- ขั้นตอนการทอ ฟืมที่ใช้ทอเสื่อกกมีหลายชนิด มีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันใช้การทอเหมือนกับการทอผ้า
- การแปรรูป นำเสื่อกกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด
ขั้นตอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์
- สร้างแบบของผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการขึ้นมา
- เมื่อได้แบบที่ต้องการนำเสื่อกกมาตัดตามแบบที่วางไว้
- นำเสื่อกกที่ตัดไว้มาอัดกาวเพื่อความแน่นหนา
- นำแบบที่อัดกาวเสร็จแล้วมาเย็บตามที่ต้องการ
จาการลงพื้นที่บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถสะท้อนถึงวัฒนธรรมในท้องถิ่น เสื่อกกเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเสื่อกกยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการออกแบบให้มีความแปลกใหม่ มีความโดดเด่น และมีความเป็นอัตลักษณ์ มีการพัฒนาต่อยอดโดยการ แปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กระเป๋าจากเสื่อกก พวงกุญแจ กล่องใส่ทิชู่
ที่มา : ถ่ายเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2565
โดยการประยุกต์และการออกแบบลายสร้างสรรค์จากหัตกรรม การนำแนวความคิดและการอกแบบใหม่ ๆ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิปัญญาได้ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการออกแบบและการผลิต เพื่อให้มีคุณภาพและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาร่วมพัฒนาและยกระดับคุณภาพของเสื่อกกเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบัน
…..และมีอีกสถานที่หนึ่ง ที่ข้าพเจ้าอยากเชิญชวนทุกท่านว่า เมื่อท่านเดินทางไปแวะเที่ยวชมเสน่ห์ความงดงามของผ้าภูอัคนี และผลิตภัณฑ์เสื่อกก แล้ว อยากเชิญชวนทุกท่านแวะไปกราบนมัสการหลวงปู่พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดสี่เหลี่ยม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตด้วยค่ะ
ในตำบลเจริญสุข มีวัดเก่าแก่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญ และสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตหลายแห่ง ได้แก่ 1.วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่บ้านเจริญสุข 2.วัดเขารัตนธงชัย ตั้งอยู่บ้านเจริญสุข 3.วัดเจริญสุข ตั้งอยู่ หมู่ที่ 14 บ้านเจริญสุข 4.วัดหนองสะแก ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านหนองสะแก 5.วัดสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 10 บ้านสี่เหลี่ยม 6.วัดพูนสุข ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 บ้านพูนสุข และ 7.วัดขันติการาม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านประดาจะบก ซึ่งในแต่ละวัดล้วนมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ มีสถานที่ร่มรื่นใจ มีสิ่งก่อสร้างที่สวยงาม เป็นที่สะดุดตาของนักท่องเที่ยวให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม และยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ ทั้งในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และพื้นที่ใกล้เคียง และวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาดอีกวัดหนึ่ง เมื่อมาถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ก็คือ วัดสี่เหลี่ยม
ที่มา : ถ่ายเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2565
วัดสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ในหมู่บ้านสี่เหลี่ยม หมู่ที่ 10 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งพื้นที่วัดตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณปากทาง (ต้นทาง) ผ่านเข้าสู่ตำบลเจริญสุข มีป้ายซุ้มใหญ่หมู่บ้านสี่เหลี่ยม และป้ายแสดงการต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างสวยงามสะดุดตา และวัดแห่งนี้เอง เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน เป็นที่สถานที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และเป็นวัดที่อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังคือ หลวงปู่เม้า พลวิริโย อยู่จำพรรษา
ที่มา : ถ่ายเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2565
หลวงปู่เม้า ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมมีญาณจิตสูงรูปหนึ่ง บารมีแก่เกล้า วาจาศักดิ์สิทธิ์ (ในปากท่านเป็นลิ้นดำ) เป็นพระอริยสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมขั้นสูงสุด รู้อดีตปัจจุบันและอนาคต ท่านเข้ามาในร่มผ้ากาสาวพัสตร์ บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้เพียง ๑๓ ปี เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท โดยมีหลวงพ่อเพียรวัดถนนหักเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า “พลวิริโย” เมื่ออุปสมบทแล้วท่านถือธุดงควัตรเป็นนิจสิน ท่านได้เดินออกธุดงค์ในจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่แถบภาคอีสาน เป็นเวลานานหลายสิบปี ท่านได้ศึกษาวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานจากพระอาจารย์เพียร และจากพระอาจารย์อื่นอีกหลายท่าน เช่น พระอาจารย์ครุฑ และระอาจารย์เสาร์ เป็นต้น หลวงปู่เม้า พลวิริโย ท่านมรณภาพ สิริอายุรวม ๑๐๒ ปี ๘๒ พรรษา นับว่าท่านเป็นพระที่บวชนานมีพรรษาสูงสุดในยุคนั้น
ที่มา : ถ่ายเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2565
ดังนั้น เมื่อนักท่องเที่ยวทุกท่านมีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวชมเสน่ห์ความงดงามของผ้าภูอัคนี และผลิตภัณฑ์เสื่อกก แล้ว ก็อย่าลืมแวะไปนมัสการรูปปั้นหลวงปู่เม้า พลวิริโย เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต หรืออาจจะแวะเข้าไปนมัสการ สักการบูชา ทำบุญก่อนออกเดินทางต่อไปสู่หมู่บ้านเจริญสุขก็ได้นะค่ะ เพราะพื้นที่วัดอยู่ติดกับปากทาง (ต้นทาง) เข้า-ออกตำบลเจริญสุข ขอให้ทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ
แหล่งอ้างอิง
พื้นที่ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
พระเกจิแดนสยาม ประวัติหลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม. จากhttps://web.facebook.com/prakejidansiam/photos/a.410297912498436/791090787752478/?type=3&_rdc=1&_rdr สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565
หลวงปู่เม้า ลิ้นดำ ผู้มีวาจาสิทธิ์ แห่งวัดสี่เหลี่ยม.จาก https://www.komchadluek.net/amulet/515812.สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565
หลวงปู่เม้าผู้ถือมั่นในความบริสุทธิ์. จาก https://www.posttoday.com/dhamma/386405 สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565