บทความประจำเดือนกันยายนพ.ศ.2565
เขียนโดย : นางสาวเกวริน สีหมากสุก ( ภาคบัณทิต) เจ้าหน้าที่ตำบลเจริญสุข
อำเภอเฉลิมพระเกียรติจงัหวดับุรีรัมย์
ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

เขาพระอังคารตั้งอยู่ในตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภูเขาไฟ1ใน5 ที่ดับแล้วในจังหวัดบุรีรัมย์ เขาพระอังคารเป็นสถานที่ที่มีทั้งความเชื่อศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี รวมอยู่ในที่เดียวกันปัจจุบันยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญในการทอผ้าภูอัคนีจากดินภูเขาไฟของคนในตำบลมีการพบโบราณวัตถุคือใบเสมาหินบะซอลต์สมัยทวารวดี ซึ่งถือเป็นวัดแห่งเดียวในประเทศไทยที่ปรากฏใเสมาทำด้วยหินบะซอลต์ โดยใบเสมาเหล่านี้มีภาพสลักรูปบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13 -14 อายุประมาณ 1,300 ปีก่อน สถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างภายในวัดเขาพระอังคารที่เห็นในปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างขึ้นมาใหม่แทนของเดิมที่ชำรุด

ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ ศาลา และอาคารต่างๆ ที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม แปลกตา ที่สร้างโดยประยุกต์สถาปัตยกรรมหลายสมัยเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ถือเป็นวัดที่สวยงามยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณรอบๆ อุโบสถมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยจำนวน 108 องค์ ประดิษฐานเรียงรายอยู่โดยรอบ อีกทั้งยังมีใบเสมาหินบะซอลต์ ที่เก่าแก่และทรงคุณค่า ใกล้ๆ กันมีพระนอนประดิษฐานอยู่อย่างงดงามน่าเลื่อมใส ส่วนภายในวิหารหลังที่อยู่ด้านข้างพระอุโบสถประดิษฐานพระคันธารราษฎร์และมีรอยพระพุทธบาทจำลองที่ควรเข้าไปกราบสักการะ

ตำนานเขาอังคาร
ภูเขาพระอังคาร เดิมชื่อ ภูเขาลอย เหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคาร เพราะตามประวัติลายแทงธาตุพนม กล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๘ได้มีพญาทั้ง ๕ ได้นำพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมีพระมหากัสสปะเถระและพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เป็นประธาน อีกพวกหนึ่งได้นำพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานบรรจุไว้บนภูเขาลอย ตามประวัติว่าตามที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วที่เมืองกุสินารา หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว โทณพราหมณ์ได้แจกพระธาตุไป ๘ พระนครแล้ว อยู่มามีเมือง ๆ หนึ่งไปขอพระธาตุทีหลังเขาพอดีพระธาตุได้แจกไปหมดแล้ว โทณพราห์มจึงเอาทะนานทองตวงเอาธาตุพระอังคาร (ขี้เถ้า) ให้มา เมื่อได้พระอังคารธาตุจึงได้เดินทางกลับมาทางทิศอิสานใต้ พอถึงภูเขาลูกหนึ่งคือภูเขาลอย มีรูปลักษณะสวยงามรูปร่างเหมือนรูปพญาครุฑนอนคว่ำหน้า จึงมีความคิดว่าน่าจะนำพระอังคารธาตุบรรจุไว้ที่แห่งนี้เมื่อลงความเห็นเป็นอันเดียวกันแล้ว จึงได้สร้างสถานที่บรรจุพระอังคารธาตุไว้ที่ไหล่ข้างซ้ายของพญาครุฑ และเปลี่ยนชื่อภูเขาลอยเป็นภูเขาพระอังคาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นอกจากโบราณสถานที่งดงามแล้วบนเขาพระอังคารยังมีจุดจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหาร พร้อมทั้งของที่ระลึกของฝากที่เป็นตัวแทนของการได้มาเยี่ยมชมโบราณสถาน ณ เขาพระอังคาร ติดไม้ติดมือกลับไปอีกด้วย

อ้างอิง

https://buriram.mots.go.th/news

https://sites.google.com/site/adburiramy/wad-khea-phraxangkhar