ข้าพเจ้านายอรรถกร จันทร์นวล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ED03-1
วัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG
โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการว่างงานอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือการจ้างงานบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ ในชุมชนต่าง ๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
ในเดือนกันยายนพวกเราทีมงาน U2T for BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และคณาจารย์ประจำตำบลได้ลงพื้นที่ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ณ หมู่ที่ 11 บ้านวัฒนาใหม่ ได้จัดโครงการอมรมกิจกรรมการออกแบบลวดลายผ้าไหม ให้เป็นเอกลักษณ์ของตำบลยายแย้มวัฒนา ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมทั้งหมด 30 คน ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้พวกเราและทีมงานได้มีการประชุมกับทางคณาจารย์ประจำหลักสูตรและติดต่อไปยังผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เพื่อให้ทราบถึงการจัดกิจกรรมให้กับชาวบ้านในชุมชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้พวกเรามีการใช้มาตรการที่เคร่งครัดเเละรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดการเเพร่ขยายเชื้อโควิด-19 โดยได้เรียนเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบลวดลายผ้าไหม มาสอนการออกแบบลายผ้าพร้อมทั้งให้ชาวบ้านปฎิบัติไปพร้อมกัน
กิจกรรมที่ 2 คือ กิจกรรมการแปรรูปข้าวเหนียวภูเขาไฟเป็นข้าวตังหน้าหมูหยอง พวกเราทีมงาน U2T for BCG ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมการแปรรูปข้าวเหนียวภูเขาไฟไปรบัดเป็นข้าวตังให้กับชาวบ้านในชุมชนและสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวตังเพื่อให้คนในชุมชนได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว พวกเราเห็นว่าตำบลยายแย้มวัฒนาได้ปลูกข้าวเหนียวภูเขาไฟเป็นจำนวนมากแทบทุกหลังคาเรือนส่วนมากปลูกเพื่อจำหน่าย จึงมีแนวคิดแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเหนียวภูเขาไฟให้มีคุณค่ามากขึ้นจึงได้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวตังเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับข้าว ซึ่งข้าวตังก็เป็นขนมที่นิยมกินของคนส่วนมากเพราะมีรสชาติ หอม หวาน กรอบ อร่อย ยิ่งได้ข้าวเหนียวภูเขาไฟไปรบัดที่มีรสชาติอร่อยทำให้ข้าวตังของตำบลยายแย้มวัฒนาเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น พวกเราจึงได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ในด้านการทำข้าวตัง จากมหาลัยราชภัฎบุรีรัมย์มาสอนและแนะนำขั้นการทำต่าง ๆให้กับชาวบ้านในชุมชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้พวกเรามีการใช้มาตรการที่เคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการเเพร่ขยายเชื้อโควิด-19 ในขั้นตอนแรกในการจัดกิจกรรมจะมีการตรวจวัดไข้โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ ล้างเจลเเอลกอฮอล์ ลงชื่อของผู้คนที่มาเข้าร่วมและมีการจัดเก้าอี้โดยเว้นระยะห่างให้กับผู้คนในตำบล
อีกทั้งยังได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพลเมืองคุณภาพ ECT Week ณ ศูนณ์การเรียนรู้ กศน. ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลนั้นก็คือคณะกรรมการศส.ปชต.
วัตถุประสงค์
- สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกรรมการ ศูนย์
- สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ U2T for BCG
- เรียนรู้กลไกการขับเคลื่อนภารกิจการเสริมสร้างพลเมือง
- รวบรวม วิเคราะห์ สรุปผล การดำเนินงานร่วมกัน