ดิฉันนางจณิสตา นุชสาย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ิ
การดำเนินงานโครงการประจำเดือนสิงหาคมนั้น ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบล ได้ทำการลงพื้นที่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการจัดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ที่จะทำการต่อยอด และพัฒนาสินค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยผู้ปฏิบัติงานและและประชาชนในพื้นที่ ได้ช่วยกันวางแผนการดำเนินงานของตำบลยายแย้มวัฒนา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ ช่วยกันวางแผนการจัดโครงการอบรมให้กับประชาชนในพื้นที่
จากการลงพื้นที่ ได้มีการเสนอการต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยที่ข้อสรุปนั้นทางผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในพื้นที่ ช่วยกันพัฒนาออกแบบลายผ้าฝ้าย ให้มีลายเป็นอัตลักษณ์ประจำชุมชน เมื่อผู้ซื้อได้นำไปใช้จะสังเกตและเห็นลายผ้าที่เราได้ทำการพัฒนาไว้ ทำให้ทราบว่าผ้าฝ้ายผืนนี้ ได้ทำการผลิตที่ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีลวดลายสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าว ที่จะนำมาแปรรูปจัดจำหน่ายคือข้าวตัง ที่ทำมาจากข้าวสาร ที่ปลูกด้วยดินภูเขาไฟ ทำให้ได้แร่ธาตุมากขึ้นกว่าข้าวที่ปลูกจากดินที่อื่น ๆ ทำการพัฒนาให้มีหลากหลายรสชาติ และหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น โดยที่การพัฒนาเราจะพัฒนาแพ็กเกจของบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า และช่องทางการจำหน่ายให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 โครงการด้วยกันคือ 1.โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy )ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายยายแย้ม ของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2.โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy)ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวภูเขาไฟยายแย้ม ของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยโครงการที่ 1 จะทำการออกแบบลายผ้าฝ้ายของตำบลยายแย้มวัฒนา และโครงการที่ 2 ทำการแปรรูปข้าวที่ปลูกจากดินภูเขาไฟในพื้นที่ของตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เป็นข้าวตังที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และรสชาติถูกใจของประชาชนในทุกเพศทุกวัย
โดยเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ทางผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนในพื้นที่ ได้ช่วยกันออกแบบโลโก้ประจำตำบล และออกแบบการนำผ้าพันคอที่ทำมาจากผ้าฝ้ายของทางชุมชน นำมาจัดจำหน่าย ทำเป็นลักษณะพวงมาลัยใส่กล่อง และจำหน่ายในราคา 249 บาท
อีกทั้งดิฉันและทีมงานตำบลจึงได้ช่วยกันทำเอกสาร C-03 การพัฒนาสินค้าและบริการ และ C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ จากนั้นทำการกรอกข้อมูลลงระบบ และช่วยกันเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านสถานที่ อุปกรณ์ การติดต่อประสานงานกับหน่ายงานต่าง ๆ และขอความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การจัดการดำเนินโครงการเป็นไปอย่างราบรื่น