ED03-1 ตําบลยายแย้มวัฒนา  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน 2565
ข้าพเจ้านางสาวประคอง จันทร์ประโคน ประเภทประชาชน ตําบลยายแย้มวัฒนา อําเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดบุรีรัมย์ จากโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T for BCG)  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในเดือนกันยายน 2565 ผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ได้มีการประชุมวางแผนทำผลิตภัณฑ์ใหม่ และ ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม 2 กิจกรรม  กิจกรรมที่ 1 คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอด้วยมือออกแบบลวดลายและมัดลายให้เป็นสัญญาลักษณ์รูปตัว yพิมพ์เล็ก y พิมพ์ใหญ่ Y  ที่ตำบลยายแย้มวัฒนาหมู่ 11 พร้อมกับผู้นำชุมชน และ ประชาชนในชุมชนได้มีการลงทะเบียนเพื่อเข้ามาฝึกอบรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการมัดลายผ้าและออกแบบลวดลายผ้าฝ้ายใหม่ให้เป็น   เอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะของบ้านยายแย้มวัฒนาซึ่งได้มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบลวยลายผ้ามาออกแบบให้กับชาวบ้านในชุมชนชาวบ้านได้ลองปฏิบัติทำการมัดเส้นด้ายให้เป็นลวยลายรูปแบบตัวy-Y จากนั้นได้นำไปทอ ส่วนกิจกรรมที่ 2 คือ ผลิตภัณฑ์ข้าวตังหน้าหมูหยองซึ่งทำมาจากข้าวภูเขาไฟยายแย้มเป็นข้าวที่ปลูกจากดินภูเขาไฟบริเวรเขาไปรบัด ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความหอมและความนุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสิ้นค้า OTOP เพื่อต่อยอดมูลค่าข้าวให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้าวแต๋นและข้าวตังหน้าหมูหยองซึ่งได้มีอาจารย์มาให้ความรู้ทางด้านวิธีการทำข้าวตังและขั้นตอนการทำข้าวตังหน้าหมูหยอง

ข้าวตังหน้าหมูหยอง

วัตถุดิบ

-ข้าวสวย 4 ถ้วย

-เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

-น้ำมันพืชใช้สำหรับทอด

-น้ำราดหน้าข้าวตัง

-น้ำพริกเผา 3 ช้อนโต๊ะ

-น้ำตาลทราย 1 ช้อนตวง

-น้ำเกลือ    1 ช้อนโต๊ะ

-หมูหยองโรยหน้า

ขั้นตอนการทำข้าวตัง

1.นำข้าวสารโรยเกลือนิดหน่อยใส่น้ำเปล่าทีล่ะน้อยใช้มือนวดข้าวจนเนียนเป็นก้อน

2.นำช้าวที่นวดมากดให้แบนอาจจะใช้ช้อนหรือขวดกดนวดให้เป็นแผ่นได้ตามสะดวก

3.ใช้แก้วหรือแม่พิมพ์อื่นๆมากดข้าวกดบนตัวข้าวเพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ

4.ใช้มือแตะน้ำนิดหน่อยไม่ให้ข้าวติดจากนั้นค่อยๆแป้งข้าวตังไปวางไว้บนถาดเตาอบ

5.นำแผ่นข้าวตังเข้าอบด้วยความร้อน150องศาเซลเซียสนาน15นาทีนำออกมาพักให้เย็นแล้วพลิกกลับด้านจากนั้นเข้าอบต่อจนแห้งสนิทถ้าไม่มีเตาอบให้นำไปตากแดด2แดด(2วัน)หรือจะใช้วิธีจี่ไฟด้วยอ่อนๆ

6.นำแผ่นข้าวตังไปทอดในน้ำมันที่ร้อนจัดขั้นตอนนี้สำคัญถ้าน้ำมันไม่ร้อนพอแผ่นข้าวตังจะด้านไม่ฟูแล้วเสียทอดทีละน้อย นับ 123 แล้วตักขึ้นเลย

7.เทน้ำมันออก ใส่พริกเผา น้ำตาลทรายและน้ำเปล่า เคี่ยวให้เข้ากันจนเหนียว ปรุงรสด้วยเกลือหรือซีอิ้วขาว

8.น้ำพริกเผามาทาบนแผ่นข้าวตัง โรยหน้าด้วยหมูหยอง

9.นำข้าวตังหน้าหมูหยองพริกเผาเข้าเตาอบอีกรอบ ด้วยอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส เวลา 15 นาที ตามความเหมาะสมนำข้าวตังมาอบอีกรอบ เพื่อความถนอมข้าวตังให้กรอบทานได้นานๆ

10.นำเก็บใส่ถุงบรรจุภัณฑ์หรือกล่องรอให้เย็นถึงจะปิดฝาเก็บไว้รับประทานและจำหน่ายได้

จากนั้นวันที่ 5-8 กันยายน 2565 ทางผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลยายแย้มวัฒนาได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับกรรมการศูนย์พัฒนาประชาธิปไตย(ศส.ปชต.)และครู กสน. ตำบลยายแย้มวัฒนาภายใต้กิจกรรมโครงการ ECT Weekทำ

แบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูล 1. ในวันที่ 5-8 กันยายน สถานที่ กสน.ตำบลยายแย้มวัฒนา เวลา 09.00น. 2.รายชื่อกรรมการ คส.ปชต. ที่ร่วมให้ข้อมูล นายทวีชัย โทศรี (กำนัน) นายประเสริฐ วิเศษจุมพล นายพิเชษฐ์ ดอนเหนือ นายประพันธ์ กัลป์ยานาม นายจำเนียน เจียมสกุล นายปรีชา สำเร็จดี 3.ประเด็นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล 3.1 บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต.รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน – เป็นศูนย์กลางพัฒนาประชาธิปไตย ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตย และการเลือกตั้งส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมประชาธิปไตยพัฒนาติอยอดการสร้างและขยายเครือข่ายพลเมืองสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง 3.2 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชิปไตยหรือไม่อย่างไร-การดำเนินกิจการหรือนโยบายต่างๆในชุมชนต้องมีการทำมติประชาคม เป็นต้น 3.3 การมามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับและลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประขาชนต้องการควรมีลักษณะ   อย่างไร – มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดีถ่ายทอดความรู้ได้ดีรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นคนมีเหตุผลเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมีคุณธรรมจริยะรรมยึดหมั่นในประชาธิปไตยของประชาชนหลักสิทธิเสรีและความเสมอภาค 3.4 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่อย่างไร – การสร้างพื้นฐานให้พอมีพอกินสามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยยึดหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข การใช้ชีวิตตามหลักเศษฐกิจพอเพียงเพื่อมาสร้างความเข้าใจแก่ชุมชนผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาหมู่บ้าน4. ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่ -ชุมชนห่างไกลทำให้การเดินทางสำรวจลำบากเนื่องจากเป็นการเข้าใปสอบถามโดยไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าทำให้ชาวบ้านบางทันไม่ให้ความร่วมมือชุมชนบางครัวเรือนยังไม่มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ ศส.ปชต. 5. ข้อเสนอแนะ -ควรมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าที่ของ ศส.ปชต. ให้มากขึ้นผู้นำชุมชนควรประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ ในเรื่องประชาธิปไตยเพิ่มเติมในการสำรวจเก็บข้อมูลค่อนข้างสั้น ทำให้อาจทำการสำรวจได้ไม่ทั่วถึงและได้เนื้อหาไม่ครบถ้วนตามความจริง

จากนั้นผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ได้ประชุมออนไลน์วางแผนจัดกิจกรรมที่ 3 ชึ่งได้เชิญท่านนายกเทศมนตรีตำบลยายแย้มวัฒนาได้มาร่วมพิธีการเปิดงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย และ ผลิตภัณฑ์ข้าวตังหน้าหมูหยองพร้อมกับท่านกำนันผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในชุมชนบ้านยายแย้มวัฒนาโดยมีวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยว Packging ที่ไว้ใส่ผลิตภัณฑ์ให้ดูสวยงามมีมาตฐานและมาบรรจุเป็น Packaging พร้อมที่จะจำหน่าย