ED03-1 ตําบลยายแย้มวัฒนา อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจําเดือนกรกฎาคม 2565
ข้าพเจ้านายทรงพล พรหมลี  ประเภทประชาชน ตําบลยายแย้มวัฒนา อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ จากโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) (U2T for BCG and Regional Development) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในเดือนกรกฎาคม ผู้ปฎิบัติงานและทางคณาจารย์ได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายของยายแย้มวัฒนาและข้าวภูเขาไฟยายแย้ม เพื่อจัดทำแบบฟอร์ม c – 01 เพื่อเสนอโครงการและจัดทำแบบฟอร์ม c-02 แผนธุรกิจ เกี่ยวกับการดำเนินการในการปฎิบัติงาน ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปคือ กระเป๋า ผ้ากันเปื้อน ข้าวตังหน้าหมูหยอง และได้มีการปฐมนิเทศผ่านทาง you tube ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อเรียนรู้แนวทางในการปฎิบัติงานในตำบลที่ได้รับผิดชอบ อีกทั้งยังได้อบรมบทเรียน อีกทั้งยังได้เข้าร่วมอบรมบทเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้สมาชิก U2T หัวข้อหลัก ๆ ในการอบรมมีดังนี้ M-01 แนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG  M-02 คิดเชิงออกแบบ (Design thinking) M-03 โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) M-04 เร่งการเติบโต (Growth Hacking)

วัตถุประสงค์ 

เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศักยภาพและบริบทของผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ บ้านยายแย้มวัฒนา หมู่ที่ 5 ศึกษาเรื่องต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรและการพัฒนาการผลิตผ้าฝ้ายท้อมือของบ้านยายแย้มวัฒนา หมู่ที่ 5 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์  โดยรูบแบบของการวิจัยแบบประยุกต์เชิงปริมาณและปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบกันในการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือให้เกิดการกระตุ้นแนวคิดสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มและชุมชน

ด้านการผลิตโดยการต่อยอดจากกิจกรรมเดิม เพิ่มลักษณะ คือกิจกรรมการตัด – เย็บผ้าทอเป็นผลิตภัณฑ์ ใหม่ เช่น เอี๊ยมสำหรับเด็ก กระเป๋า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและผลตอบแทนให้ในการจำหน่ายเพื่อผลกำไรสูงสุด

ปัญหาการผลิต  พบว่าขาดผู้สืบทอดการทอผ้าฝ้ายซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอันดับแรก รองลงมาคือราคาวัตถุดิบสูง ขาดช่างฝีมือดี ปัญหาขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขาดเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายทอมือ

โครงการขับเคลื่อนเศรษกิจและสังคมฐานรากโควิดด้วยเศรษกิจ BCG (U2T for BCG) (U2T for BCG and Regional Development)   จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ทันกับสถานการณ์ของความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและจะต้องส่งเสริมจัดสรรงบประมาณในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การแก้ปัญหา ผลตอบแทนจากการผลิตต่ำ ผู้ผลิตจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพจะต้องยกระดับให้สูงขึ้นพร้อมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในคุณภาพซึ่งจะทำให้สามารถกำหนอราคาสินค้าให้สูงขึ้นได้