ข้าพเจ้านายทรงพล พรหมลี  ประเภท (ประชาชน) ตำบลยายแย้มวัฒนา  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดบุรีรัมย์ร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะครุศาสตร์ รหัส ED03-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษกิจและสังคมฐานรากโควิดด้วยเศรษกิจ  u2t bcg and regional development

ในเดือนสิงหาคมพวกเราทีมงาน U2T for BCG ร่วมกับทางคณาจารย์มหาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เข้าร่วมประชุมในการลงพื้นที่ ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพูดคุยกับทางชาวบ้านในชุมชน อีกทั้งยังได้เชิญ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อทราบถึงวัตถุประสงค์ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้พวกเราใช้มาตรการโควิด อย่างเข้มงวด

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศักยภาพและบริบทของผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ บ้านยายแย้มวัฒนา หมู่ที่ 5 ศึกษาเรื่องต้นทุนการผลิต รายรับและกำไรและการพัฒนาการผลิตผ้าฝ้ายท้อมือของบ้านยายแย้มวัฒนา หมู่ที่ 5 ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรรัมย์  โดยรูบแบบของการวิจัยแบบประยุกต์เชิงปริมาณและปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบกันในการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือให้เกิดการกระตุ้นแนวคิดสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มและชุมชน

ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร U2T for BCG สำหรับการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะด้าน BCG สำหรับผู้ประกอบการ ในเดือนสิงหาคมหัวข้อที่เข้าร่วมอบรม มีดังนี้ M-05 ออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ M-06วางแผนตลาดและการสร้างแบรนด์ M-07 ออกแบบเรื่องราวสินค้าให้น่าสนใจ M-08 การเป็นผู้ประกอบการและการเติบโต  สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการอบรมเพื่อนำไปต่อยอดในชุมชนให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด โครงการขับเคลื่อนเศรษกิจและสังคมฐานรากโควิดด้วยเศรษกิจ bcg u2t bcg and regional development  จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ทันกับสถานการณ์ของความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและจะต้องส่งเสริมจัดสรรงบประมาณในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแก้ปัญหา ผลตอบแทนจากการผลิตต่ำ ผู้ผลิตจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพจะต้องยกระดับให้สูงขึ้นพร้อมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในคุณภาพซึ่งจะทำให้สามารถกำหนอราคาสินค้าให้สูงขึ้นได้