ข้าพเจ้านายนฤเบศร์ หินไชยศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ปฏิบัติงานประจำตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทราบปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชน ใช้เป็นแนวทางในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล

ได้เข้าร่วมการอบรบงานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่โดยมีผู้เข้าร่วมครอบคลุมทุกตำบลในประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัย สนับสนุนภารกิจระดับชาติ โดยใช้ความรู้ช่วยเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ ขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับรายได้ให้ประชาชน ยกระดับประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคง พัฒนาบัณฑิตให้พร้อมเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน   เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึง ด้วยเศรษฐกิจ BCG โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จ้างงานกว่า 68,350 คน ใน 7,435 ตำบล  77 จังหวัด ทั่วประเทศ ให้ได้รับการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย

B : Bio-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ

C : Circular-Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

G : Green-Economy เศรษฐกิจสีเขียว

บัณฑิตจะได้ใช้ความรู้ด้าน BCG  สร้าง Value Chain ให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ด้วยกระบวนการ

  • ถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตและการบริการ
  • การส่งเสริมการขายและการตลาด
  • การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง
  • การพัฒนาบรรจุภัณฑ์
  • การขนส่งและการกระจายสินค้า
  • การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ

 

ในส่วนของทางตำบลยายแย้มวัฒนา มีการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายยายแย้ม 2.ผลิตภัณฑ์จากข้าวภูเขาไฟยายแย้ม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายยายแย้ม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทอด้วยมือแบบโบราณ ย้อมด้วยสีจากธรรมชาติ ซึ่งทำให้เนื้อผ้านุ่ม มีสีสันและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า OTOP ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เช่น กระเป๋า เสื้อผ้า หมวก และแมส เป็นต้น
  2. ผลิตภัณฑ์จากข้าวภูเขาไฟยายแย้ม ข้าวภูเขาไฟยายแย้ม เป็นข้าวที่ปลูกด้วยดินภูเขาไฟบริเวรเขาไปรบัด ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งจะมีความนุ่ม และความหอม ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้า OTOP เพื่อต่อยอดมูลค่าข้าว ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้าวแต๋นและข้าวตัง เป็นต้น

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายยายแย้ม

  1. ผลิตภัณฑ์มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และมีสินค้าที่หลากหลายเช่น กระเป๋า เสื้อผ้า หมวก และแมส เป็นต้น
  2. ผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้รับการพัฒนายกระดับสินค้าเพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาคตาม

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP

  1. สมาชิกในชุมชนสามารถเข้าใจในผลิตภัณฑ์และสื่อสารกับผู้บริโภคได้ร่วมไปถึงสามารถสร้างช่องทางการตลาดใหม่ใด้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
  2. เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนและครอบครัวเกิดการ

แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในชุมชน

ผลิตภัณฑ์จากข้าวภูเขาไฟยายแย้ม

  1. ผลิตภัณฑ์มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และมีสินค้าหลากหลายราคา
  2. ผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้รับการพัฒนายกระดับสินค้าเพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP
  3. สมาชิกในชุมชนสามารถเข้าใจในผลิตภัณฑ์และสื่อสารกับผู้บริโภคได้ร่วมไปถึงสามารถสร้างช่องทางการตลาดใหม่ใด้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
  4. เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนและครอบครัวเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในชุมชน
  5. ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนมีความยั่งยืนและเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในชุมชน