ข้าพเจ้านางสาวทัศนีย์ นินนนท์ ประเภทประชาชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตรโครงการ : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ภายใต้การกับกำดูแลของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

พื้นที่ที่ข้าพเจ้าและสมาชิกร่วมทีมรับผิดชอบก็คือ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยในเดือนกรกฎาคม ข้าพเจ้าได้มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการลงพื้นที่สำรวจดอกไม้ชนิดต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำดอกไม้ประดิษฐ์ของตำบลบ้านยาง

ในช่วงวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้มีการปรึกษากับคณาจารย์และสมาชิกร่วมทีมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ รวมถึงคิดค้นกระบวนการอบดอกไม้ชนิดต่างๆให้มีความสวยงามจากพื้นสีเดิม ทั้งนี้ก็ยังมีการลงพื้นที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูล รวมถึงภาพถ่ายของดอกไม้นานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้สะดวกต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ซึ่งดอกไม้จากแหล่งชุมชนที่ชาวบ้านนิยมปลูก อาทิเช่น ดอกดาวเรือง ดอกพุดแก้ว ดอกมะลิ ลีลาวดี ตะแบก ทองอุไร ฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพืชที่นำมาเสริมในการจัดทำดอกไม้ประดิษฐ์ เช่น ดอกหญ้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การสำรวจและการจัดเก็บข้อมูลของดอกไม้ชนิดต่างๆในตำบลบ้านยางก็เป็นผลดีต่อการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการที่ได้วางแผนเอาไว้ในขั้นต้น หากแต่ดอกไม้บางชนิดก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อยและบางชนิดยังผลิดอกออกผลตามฤดูกาล ดังนั้นการทำดอกไม้ประดิษฐ์จึงต้องอาศัยดอกไม้ประจำฤดูกาลมาประยุกต์ใช้เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์มากขึ้น