เนื่องจากชาวบ้านผลิตสินค้า แล้วยังไม่เป็นไปตามท้องตลาดต้องการ จึงอยากแนะนำให้สร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

เพื่อจะได้ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกเพศทุกวัย

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) เป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ ให้ อว.นำมหาวิทยาลัย บัณฑิตจบใหม่และประชาชน กว่า 68,350 คนร่วมทีม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG 7,435 ตำบลทั่วประเทศ ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้ รมว.อว.ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ ครม.ด้าน ปลัด อว.แจงจะนำ U2T for BCG ไปเป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อน BCG ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) ที่พัฒนาร้อยกว่าตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

จากเฟสที่ 2 ในปี2564 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ร่วมโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลมาแล้ว ตำบลหนองแวงเป็นตำบลที่คณะครุศาสตร์ได้สำรวจข้อมูลและพัฒนาไปแล้วบางส่วน ทำให้ทราบข้อมูลต่างๆของตำบลหนองแวง เช่น ผลิตภัณฑ์จากกก และในเฟสที่ 3 จะต้องนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ BCG Model ข้าพเจ้าและทีมงานจึงประชุมหารือกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับชุมชนเสม็ด มีมติที่ประชุมว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกก

วันที่ 1 กรกฎาคม ..2565 ได้เข้าร่วมปฐมนิเทศพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(โครงการ U2T for BCG) มีกิจกรรมให้ผู้จ้างงานได้ร่วมเล่นเกมส์และชี้แจงรายละเอียดต่างๆของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ว่างงานหรือไม่มีรายได้ในยุคโควิดและต่อยอดการพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุด

วันที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ.2565 เข้าประชุมวางแผนเพื่อหาผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่แล้ว มาพัฒนาให้เกิดรายได้แบบยั่งยืน

วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2565 เข้าประชุมกับทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกันพัฒนาสินค้าให้ทันสมัยและความต้องการของผู้บริโภค

วันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ.2565 เก็บข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีและสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลหนองแวง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 19 กรกฏาคม ข้าพเจ้าได้นำภาพและวิดีโอทั้งหมดมาตัดต่อเพื่อเผยแพร่ลงช่อง youtube ของมหาวิทยาลัยเพื่อประกอบการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฏาคม

         จากการที่ได้เข้าร่วมอบรม ลงพื้นที่และได้ปรึกษาหารือกันภายในทีมข้าพเจ้าได้รับความรู้ในด้านต่างๆได้แลกเปลี่ยนความคิด เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน ตำบลเสม็ดต่อไป

ผู้เขียนบทความ นายชาญชัย ศรีบท

ประเภท ประชาชน