ED15-2 ตําบลทุ่งกระเต็น อําเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจําเดือนกรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้านางสาวกัญญารัตน์ สันติทานันท์  ประเภทบัณฑิต ตําบลทุ่งกระเต็น อําเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ จากโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) (U2T for BCG and Regional Development) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประชุมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะได้ทำการยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของโครงการ ผลิตภัณฑ์ที่เลือกพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำพริก และน้ำมันนวดมะพร้าว วัตถุดิบทุกอย่างสามมารถหาได้จากแหล่งชุมชนทั้งหมด วัตถุดิบมีราคาไม่แพงสามารถหาได้ง่าย  ในการทำน้ำพริกเป็นพืชที่ปลูกได้ภายในครัวเรือน ส่วนน้ำมันนวด  มะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลักมีปลูกหลากหลายทั่วไปภายในชุมชน และสมุนไพรที่ใช้ทำน้ำมันนวดมีปลูกทั่วไปในชุมชน หาได้ง่าย

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ทำการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและสอบถามแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจากองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระเต็นโดย ท่านนากยกสามารถ รัตนเจริญ และทีมงานให้ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อเก็บข้อมูลน้ำพริกและน้ำมันมะพร้าว ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งที่ 1คือ มีกลุ่มทำน้ำพริกที่บ้านหนองคูใหญ่ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการทำน้ำพริกหลากหลายเช่น น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแมงดา น้ำพริกอื่นๆ อยู่ระหว่างประสานงานเพื่อเข้าไปเก็บภาพและสอบถามจากผู้ผลิตและสอบถามกระบวนการผลิตและ กระบวนการบรรจุ น้ำพริกแมงดาที่ผ่านกระบวนการผลิตถูกวางจำหน่ายที่ร้านค้าภายในชุมชน ห่างจากทางเข้าหมู่บ้านประมาณ 500 เมตร และภายในร้านค้าชุมชนยังมีผลิตภายในชุมชนอีกมากมาย โครงการขับเคลื่อนเศรษกิจและสังคมฐานรากโควิดด้วยเศรษกิจ BCG (U2T for BCG) (U2T for BCG and Regional Development)   จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ทันกับสถานการณ์ของความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและจะต้องส่งเสริมจัดสรรงบประมาณในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น