บทความประจำเดือนสิงหาคม

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ตำบลบุกระสัง  อำเภอหนองกี่  จังหวัดบุรีรัมย์

 

ข้าพเจ้านายกันต์ฏพล  พลเดช ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิต ตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG U2T (U2T for BCG and Regional Development)

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2565 อาจารย์ประจำกลุ่มได้มอบหมายสมาชิกลงพื้นที่เก็บข้อมูลลงระบบ TCD เนื่องด้วยตำบลบุกระสังประกอบไปด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 10 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย หมู่ที่ 1 บ้่านหนองทำนบ, หมู่ที่ 2 บ้านกระสัง, หมู่ที่ 3 บ้านบุ, หมู่ที่ 4 บ้านสระสะแก, หมู่ที่ 5 บ้านถนนถั่ว, หมู่ที่ 6 บ้านประชาสามัคคี, หมู่ที่ 7 บ้านหนองมัน, หมู่ที่ 8 บ้านโคก, หมู่ที่ 9 บ้านโคกหนองหิน, หมู่ที่ 10 บ้านหนองโบสถ์ โดยอาจารย์ประจำกลุ่มได้มอบหมายให้ทำการจำคู่ระหว่างบัณฑิตและประชาชนในการลงพื้นที่ คู่ละ 2 หมู่บ้าน

วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2565 อาจารย์ประจำกลุ่มได้ทำการนัดหมายประชุมกับกลุ่มบัณฑิตตำบลบุกระสังผ่านช่องทาง Google Meet เพื่อติดตามงานและให้คำปรึกษากลุ่มบัณฑิตในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงให้คำแนะนำเรื่องการสื่อสารในการทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการทำงานเป็นกลุ่ม

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2565 ข้าพเจ้าและคุณกำไร คลังกูล ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลลงระบบ TCD ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านถนนถั่ว และหมู่ที่ 9 บ้านโคกหนองหิน โดยได้แบ่งหน้าที่กันในการบันทึกข้อมูลลงระบบคนละ 1 หมู่บ้าน เนื่องด้วยคุณกำไร คลังกูล เป็นประชาชนผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลบุกระสังอยู่แล้ว จึงได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในหมู่ที่ 9 บ้านโคกหนองหิน ล่วงหน้าไปก่อน ในวันดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ข้าพเจ้าลงพื้นที่เก็บข้อมูลบ้านถนนถั่ว โดยมีคุณกำไร เป็นผู้นำทางและให้คำแนะนำ

ในการเก็บเก็บข้อมูลทำให้รับรู้และเข้าใจพื้นที่ตำบลบุกระสังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเชิงภูมิศาสตร์ ชีวิตการเป็นอยู๋ รวมไปถึงการเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน พื้นที่ตำบลบุกระสังโดยเฉพาะบริเวณหมู่บ้านถนนถั่ว มีการอาศัยเป็นชุมชนเล็กๆ มีร้านค้าของชำอยู่บ้าง โดยส่วนมากผู้คนประกอบอาชีพในการทำการเกษตร โดยมีแหล่งน้ำเป็นหนองและคลองที่สำคัญในการทำการเกษตร โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ระบบค่อนข้างมีข้อจำกัดมากในการเก็บข้อมูล ในหลายๆพื้นที่มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ไม่ว่าจะในเชิงภูมิศาสตร์ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน หากการบันทึกข้อมูลมีความยืดหยุ่นและหลากหลายในตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น จะทำให้การเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นประโยชน์ในการใช้ข้อมูลต่อยอดต่อไป

วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2565 กลุ่มบัณฑิตตำบลบุกระสังรวมตัวกันเพื่อระดมความคิดในการกรอกข้อมูล C-04 ลงในระบบ รวมถึงปรึกษาและขอความอาจารย์ประจำตำบลเพื่อชี้แนะ และเรียบเรียงการบันทึกข้อมูลให้มีความถูกต้อง

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2565 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการผลิตภัณฑ์ทั้งสองโครงการ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการบันทึกข้อมูล TCD ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการต่อยอดต่อไปในอนาคต รวมถึงได้ทำการนัดหมายและแนะนำการเตรียมตัวสำหรับการอบรมที่จะเกิดขึ้นที่ตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

ลิงก์วิดิโอการทำงาน ประจำเดือนสิงหาคม: