ข้าพเจ้านางสาวพรนภาการ    ถิ่นไร่   ประเภทประชาชน   สังกัดตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
โครงการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิคดด้วยเศรษฐกิจ BCG
โครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG

ประจำเดือนสิงหาคม2565

1 สิงหาคม2565
คณาจารย์ได้มอบหมายให้แบ่งกลุ่มทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลตาจงเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล TCD โดยแบ่งออกเป็น 3 ทีม

ลงพื้นที่สำรวจทั้งตำบลตาจงรวม 22 หมู่บ้านได้แก่บ้านยางโป่งสะเดาหมู่ที่ 1. /บ้านโคกตาพรม หมู่ที่2./บ้านบุ หมู่ที่ 3./บ้านละลมหมู่ที่4./บ้านตาจงหมู่ที่ 5./

บ้านหนองปรือ หมู่ที่6./บ้านหนองปรือใหม่หมู่ที่ 7./บ้านหัวสะพานหมู่ที่ 8./บ้านหัวสนามหมู่ที่ 9./บ้านตางอนหมู่ที่ 10./บ้านโคกว่านหมู่ที่ 11./บ้านดอนมันหมู่ที่ 12./

บ้านหัวทำนบหมู่ที่ 13./บ้านสว่างพัฒนาหมู่ที่ 14./บ้านหนองคันหมู่ที่ 15./บ้านหนองมดแดงหมู่ที่ 16./บ้านหนองโบสถ์หมู่ที่ 17./บ้านเทพพยัคฆ์หมู่ที่ 18./

บ้านไทยพัฒนาหมู่ที่ 19./บ้านหนองยางหมู่ที่ 20./บ้านศิลาทอง หมู่ที่ 21./บ้านเทพยักษ์ใต้หมู่ที่ 22.  รวมทั้งสิ้น 500 รายการ
 
โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สำรวจ 8 หมู่บ้าน ได้แก่
บ้านบุ หมู่ที่ 3
บ้านหนองปรือใหม่หมู่ที่ 7

บ้านหัวสะพานหมู่ที่ 8

บ้านหัวสนามหมู่ที่ 9

บ้านสว่างพัฒนาหมู่ที่ 14

บ้านหนองคันหมู่ที่ 15

บ้านหนองมดแดงหมู่ที่ 16

บ้านไทยพัฒนาหมู่ที่ 19

11สิงหาคม 2565
การสำรวจข้อมูลของข้าพเจ้าได้แล้วเสร็จครบทุกหมู่บ้านสำรวจได้ทั้งหมด77 รายการ

ตำบลส่งถ่านมหัศจรรย์และผลิตภัณฑ์กระเป๋าเสื่อกกบ้านเทพยัคฆ์เข้าร่วมสมัครการแข่งขัน Hackathon โดยการเลือกปัญหาที่มีความสอดคล้องกับพื้นที่และแนวทางการแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงรวมถึงการใช้ทรัพยากรในตำบลเพื่อสร้างมูลค่ามีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน และสามารถเพิ่มรายได้ การนำเสนอ hackathon เฟส 2 เป็นการนำเสนอ ไอเดีย

และร่วมกัน ดำเนินการทำสไลด์ เพื่อเข้าแข่งขัน

ทีมถ่ายมหัศจรรย์ตำบลตาจงได้และได้เข้ารอบสี่ทีมของมหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ด้านพลังงานและวัสดุ
จึงได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงรายละเอียดการแข่งขันในวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00-12.00 น. ทางออนไลน์ ผ่าน Application Zoom
โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดนครราชสีมาห้อง a 306 ชั้น 3 แข่งขันเวลา 10:40 น ถึง 10.45 น

ทางคณาจารย์และทีมงานท่านมหัศจรรย์จึงได้ประชุมนัดหมายการแข่งขัน เพื่อหาแนวทางและวิธีการเข้าการแข่งขันสำหรับการแข่งขันใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีแนวทางการนำเสนอและ Presentation ที่สามารถดลใจและครอบคลุมเนื้อหาทุกภาคส่วน

4สิงหาคม 2565
ได้นัดรวมตัวกันเพื่อพูดคุยในการทำคลิปวีดีโอ  ทำสไลด์สำหรับเข้าแข่งขันHackathon

7สิงหาคม2565
ไปเตาถ่านเพื่อเตรียมเรียงไม้   ผลไม้ เพื่อเตรียมเผาถ่าน จากเตาความร้อนสูง

8สิงหาคม2565
ได้ทำการเผาถ่านและเก็บน้ำส้มควันไม้คอยสังเกตดูควันจากน้ำส้มควันไม้ถ้าหมดจึงสามารถปิดเตาได้
เวลา20.00น.ได้เข้าไปดูเตาถ่านอีกครั้งควันยังเยอะอยู่ได้น้ำส้มควันไม้เยอะประมาณ 10 ลิตร
เวลา00.00น.ได้ออกไปดูเตาถ่านอีกรอบผลคือควันหมดน้ำส้มควันไม้หยุดไหลได้ทำการปิดไอน้ำจากน้ำส้มควันไม้และปิดรูเตา จากนั้นก็รอจนกว่า ไฟจะจะดับ ถึงจะเปิดเตาได้

9สิงหาคม2565
เวลา12.30น.ได้เดินทางไปเปิดเตาถ่านผลที่ได้ถ่านผลไม้จากเลมอน มะนาว น้อยหน้า กล้วย ดอกไม้และถ่านไม้ไผ่ดูดซับกลิ่นเพื่อไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ในการนำเสนอ

ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ทางทีมงานถ่านมหัศจรรย์ตำบลตาจงและคณาจารย์ได้ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่

วันที่16สิงหาคม2565  เวลา17.00 น.

ประชุมออนไลน์เพื่อจัดโครงการอบรมปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่าน แกร่ง

จัดกิจกรรมวันอาทิตย์ที่21-วันจันทร์ที่22 สิงหาคม 2565

อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก  กก

จัดกิจกรรมวันจันทร์ที่29 – วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565

ผลิตภัณฑ์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ยกระดับในชุมชนแต่สามารถส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้น
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล และการแข่งขันHackathonภายใต้โครงการ U2T for BCGมหาวทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานต่างๆทุกหน่วยงาน ประชาชนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือและเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน