ดิฉันนางสาวภัทรสุดา บรรยงค์ ผู้ปฎิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

คณะอาจารย์ประจำตำบลและทีมผู้ปฏิบัติงานได้เดินทางพบนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองหลางเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจและขออนุญาตลงพื้นที่ตำบลทองหลางเพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทองหลางทั้งหมด 10 ท่าน ได้ร่วมวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ดกับ นางสิริรัตน์ ศิลประกอบ และผลิตภัณฑ์ชาดาวเรืองกับ นายชัยเชษฐ เวทไธสง โดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลได้แนะนำแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ เพื่อร่วมหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่น่าสนใจในกลุ่มผู้บริโภคและสามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน

 

3 สิงหาคม 2564 ทีมผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ประจำตำบล ประชุม Online ผ่าน Google meet ร่วมกันถึงการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล ผู้ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม ร้านอาหาร เกษตร พืช สัตว์ ในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านระบบจัดเก็บข้อมูล U2T หรือบันทึก TCD

 

4-11 สิงหาคม 2565 สำหรับการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทีมผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งกลุ่มและพื้นที่รับผิดชอบเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดิฉันรับผิดชอบหมู่ที่ 4 ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ การได้มาซึ่งข้อมูลในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 และการให้ความร่วมมือของชาวบ้านเป็นอย่างดี ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

ทางทีมได้ทำการทดลองทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชาดาวเรืองโดยเก็บดอกที่โตเต็มที่ นำมาเลือกเอาเพียงกลีบดอกที่สมบูรณ์ เพื่อจะนำมาตากแห้งให้ได้ชาจากดอกดาวเรือง เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจจึงทำให้ขั้นตอนนี้ของทีมเราล้าช้าแต่ก็ยังอยู่ในแผนที่ทางทีมวางไว้

 

15 สิงหาคม 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ประจำตำบล ประชุม Online ผ่าน Google meet อีกครั้ง เพื่อจัดการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ด และผลิตภัณฑ์จากดอกดาวเรือง กิจกรรมนี้เป็นการอบรมปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางการสร้างรายได้ และฝึกปฎิบัติจริงแก่ชาวบ้านในตำบลทองหลางทั้ง 10 หมู่บ้าน สำหรับสถานที่จัดกิจกรรมทางทีมได้เห็นตรงกันว่าใช้ที่ โดมสุทธิกิจ ประชานุสรณ์ วัดสระประทุม ตำบลทองหลาง เพื่อสะดวกต่อการเดินทางมาเข้าร่วมประชุมของผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอาชีพ

 

19 สิงหาคม 2565 ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดสถานที่เพื่อจัดอบรมพัฒนาเชิงปฏิบัติการ สถานที่จัดงานในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าอาวาส วัดสระประทุม ซึ่งให้ความเอื้อเฟื้อตั้งแต่สถานที่ ไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆสำหรับจัดงานอบรมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2565

 

คลิปการปฏิบัติงานและลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือน สิงหาคม