ดิฉันนางสาวภัทรสุดา บรรยงค์ ผู้ปฎิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

ทีมผู้ปฏิบัติงานและคณะอาจารย์ประจำตำบล ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ด และผลิตภัณฑ์จากดอกดาวเรือง โดยกิจกรรมนี้เป็นการอบรมปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวทางการสร้างรายได้ และฝึกปฎิบัติจริงแก่ชาวบ้านในตำบลทองหลางทั้ง 10 หมู่บ้าน สถานที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้คือ โดมสุทธิกิจ ประชานุสรณ์ วัดสระประทุม ตำบลทองหลาง และต้องขอขอบคุณท่านอาจาร์จากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่มาให้ความรู้เชิงทฤษฎีแก่ชาวบ้าน รวมถึงนางสิริรัตน์ ศิลประกอบ และ นายชัยเชษฐ เวทไธสง ที่มาช่วยในการฝึกปฏิบัติลงมือทำผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ด และผลิตภัณฑ์ชาดาวเรือง ในครั้งนี้

 

5-9 กันยายน 2565  กิจกรรม ECT week ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เข้าพบ นางมยุรินทร์ มะโน ซึ่งเป็นประธานศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาประชาธิปไตร(คส.ปชต.) และ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทั้ง 10 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตร(กก.คส.ปชต.) ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ตำบลทองหลาง (กศน.ตำบล) เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน นอกจากนี้ยังได้มีการระดมความคิดกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตร(กก.คส.ปชต.)ในเรื่อง วิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน, การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และผู้แทนที่ประชาชนพึงประสงค์ พร้อมทั้งลงพื้นที่เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในตำบลทองหลางเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัว วิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน และผู้แทนที่พึงประสงค์  พร้อมทั้งระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อจัดทำแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในครั้งนี้

 

9-14 กันยายน 2565 ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมลงมือจัดทำผลิตภัณฑ์ประจำตำบล เพื่อนำสินค้าไปขายที่งานพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งภายในงานจะมีบูทสำหรับขายสินค้าของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ไว้สำหรับแต่ละตำบลในโครงการ ดิฉันได้รับผิดชอบในส่วนของผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ดดาวเรือง โดยมีนางสิริรัตน์ ศิลประกอบเป็นผู้นำทีมในการจัดทำขนมในครั้งนี้ ซึ่งขนมนางเล็ดของเราจะมีทั้งหมด 7 รสชาติ คือ หมาล่า วิ้งแซ่บ ลาบ วาซาบิ โนริสาหร่าย ชีส และพิซซ่า

 

15-18 กันยายน 2565 ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีพิธีซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร ดังนั้นจึงให้ทุกตำบล ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เฟส 2 มาร่วมออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้ได้ 10% ตามที่โครงการกำหนด โดยจะเริ่มออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในวันที่ 15-18 กันยายน 2565

 

 

คลิปการปฏิบัติงานและกิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือน กันยายน