ดิฉันนางสาวภัทรสุดา บรรยงค์ ผู้ปฎิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทองหลางทั้งหมด 10 ท่าน ได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลได้แนะนำแนวทางในการปฏิบัติงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ เพื่อที่จะร่วมหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีการเติบโตและมีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน

 

วันที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2565 ได้ทำการสำรวจข้อมูลของประชากรตำบลทองหลางพบว่า ตำบลทองหลางมีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน อาชีพส่วนใหญ่ทำนาตามฤดูกาล เพื่อใช้อุปโภค บริโภค และจำหน่าย ประชากรส่วนใหญ่อยู่อย่างพอเพียง แต่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเพื่อทำการเกษตร ปัญหาและความต้องการของตำบลทองหลาง คืออยากให้มีการฝึกอบรมอาชีพและเสริมสร้างรายได้ในตำบลต่อไป สำหรับผลิตภัณฑ์ในตำบลทองหลางที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ทางกลุ่มเห็นตรงกันนั้นก็คือ ขนมนางเล็ด และดอกดาวเรือง ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์

ทางกลุ่มได้รับมอบหมายงานออกแบบบรรจุภัณฑ์และโลโก้ สมาชิกในกลุ่มช่วยกันออกแบบโลโก้และได้มีการนำเสนอออกความคิดเห็นกัน จากนั้นจึงนำเสนออาจารย์ ผ่านกลุ่ม Line คณะอาจารย์ได้แนะนำการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงบางจุดของโลโก้ที่จะใช้ในการบรรจุภัณฑ์ที่เลือกกันไว้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์

 

วันที่ 6-12 เดือนกรกฎาคม 2565 ลงพื้นที่ ทั้งหมด 2 หมู่บ้าน สำหรับ 2 ผลิตภัณฑ์ลงพื้นที่บ้านทองหลาง หมู่ที่ 3 และบ้านหัวศาลา หมู่ที่ 9 ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทางกลุ่มเข้าประสานงานกับผู้ประกอบการซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดเด่นของหมู่บ้านสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ คือ ดอกดาวเรือง และขนมนางเล็ด โดยดอกดาวเรืองทางผู้ประกอบการจะจัดจำหน่ายในลักษณะต้นกล้า และดอกสด ยังไม่มีการแปรรูปใดๆ และขนมนางเล็ดเป็นการแปรรูปจากข้าวเหนียว นำมาทอดแล้วราดด้วยน้ำตาล ทั้งสองผลิตภัณฑ์ปัจจุบันยังเป็นสินค้าที่ผลิตขายในครัวเรือน ยังไม่ได้มีการพัฒนาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด

 

วันที่ 18 เดือนกรกฎาคม 2565 ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจ C-02 ผ่าน BCG-ASSIGNMENT ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแผนธุรกิจ ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ การสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าและราคา เพื่อขับเคลื่อนในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ต่อไป

 

คลิปการปฏิบัติงานและลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือน กรกฎาคม