โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ปัญหาความเป็นอยู่ในชุมชนตำบลแดงใหญ่

ดิฉันนางสาววิภาดา  ขำเอนก ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อยกระดับเศษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน  9 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านแดงใหญ่ หมู่ 2 บ้านหนองไผ่ หมู่ 3 บ้านโคกสะอาด หมู่ 4 บ้านโศกนาค หมู่ 5 บ้านเป้าพัฒนา หมู่ 6 บ้านอีเม้ง หมู่ 7 บ้านหนองจิก หมู่ 8 บ้านโนนเห็ดไค   และหมู่ 9 บ้านหนองหัวหมู ของตำบลแดงใหญ่ อำเภอบ้านใหม่ชัยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการปฏิบัติงานมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม C – 01 แบบฟอร์ม คือ การลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์ขึ้นในชื่อในหมู่บ้านเพื่อนำมาสร้างคุณค่าให้กับชุมชน

         

ดิฉันนางสาววิภาดา  ขำเอนก ได้ลงสำรวจพื้นที่สำรวจ 3 หมู่บ้านดังนี้ หมู่ 7 บ้านหนองจิก หมู่ 8 บ้านโนนเห็ดไคและหมู่ 9 บ้านหนองหัวหมู  จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรเป็นหลัก และมีอาชีพเสริมคือเก็บของเก่าขาย บางครัวเรือนจักสานผลิตภัณฑ์จากรีไซเคิล นอกจากนี้ยังมีบางครัวเรือนที่ทอเสื่อกก ทอผ้าไหม และการสำรวจประชากรพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยและผู้มีรายได้น้อย และพบว่าเกือบทุกครัวเรือนนั้นมีหนี้สิน เนื่องจาก กู้ยืมเพื่อมาเป็นทุนในการทำเกษตรกรรม และทำธุรกิจส่วนตัว และส่วนน้อยกู้เพื่อซื้อบ้าน ยานพาหนะ และใช้ในชีวิตประจำวัน ในแต่ละตำบลมีการจัดอบรมและมีโครงการต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง เช่น จัดอบรมทักษะอาชีพจากกองสวัสดิการ และโครงการพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น จากการลงพื้นที่สอบถามสภาพแวดล้อมและปัญหาในชุมชน ปัญหาที่ด้านผลิตภัณฑ์ที่พบส่วนใหญ่ คือ การตลาดเข้าไม่ถึงสินค้าที่ผลิต และมีผู้มารับซื้อจำนวนน้อย สินค้าไม่สามารถขายได้ตามที่ต้องการ ทำให้ชาวบ้านผลิตสินค้าน้อยลงและขาดรายได้ สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนมากตามที่ได้สอบถามข้อมูล พบว่า มีปัญหาด้านไฟฟ้าเข้าไม่ถึงขอบถนนในชุมชนยังมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ถนนสัญจรลำบากพื้นผิวขรุขระชำรุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเกินกว่า 50 % มีปัญหาด้านการกำจัดขยะที่ยังจัดการได้ไม่ดีพอ ในชุมชนไม่มีการคัดแยกขยะ ส่วนใหญ่จะเลือกวิธีการเผาขยะ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

 

ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้เก็บข้อมูลจริงตามแบบฟอร์ม 01 แล้ว ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ได้แก่  การทำนาและการปลูกพืชผักสวนครัวบางฤดูกาล  เก็บของเก่าขาย อาชีพหัตถกรรมในครัวเรือน  ได้แก่  การทอผ้าไหม  การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย  การจักสาน  การค้าขาย  ช่างก่อสร้าง  และทำงานรับจ้างทั่วไป ได้พบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนตำบลแดงใหญ่ ถ้าชุมชนแห่งนี้ได้รับการอบรมในหลักสูตร ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ข้าพเจ้าคิดว่าประชาชนจะมีอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนแห่งนี้ได้ดียิ่งขึ้น