ข้าพเจ้า นางสาวเบญจพร เพ็งคำ ประเภทประชาชน ตำบลหนองโบสถ์  อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์                     หลักสูตร :HS03-1: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)\

ในวันศุกร์ที่ 1กรกฏาคม2565 เวลา 13.30 เนื่องจากการแถลงข่าวและมอบนโยบาย โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยมีการพิธีแถลงข่าวและมอบนโยบายโครงการ U2T for BCG ได้มีพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live นำโดย ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิบดีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย ที่ผ่านมา ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อประชุมชี้แจงพื้นที่รับผิดชอบโครงการ U2T for BCG เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้อกับเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ

วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2565 โดย กองการบริการงานบุคคล สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดกิจกรรมการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประจำตำบลโครงการ U2T for BCG และการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบลโครงการ U2T for BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีฯ ฝ่ายงานบริหารงานบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโครงการฯจังหวัดบุรีรัมย์ และคณะผู้บริหารโครงการ U2T จังหวัดบุรีรัมย์ ชมการนำเสนอผลิตภัณฑ์โครงการ U2T for BCG และการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบล โครงการ U2T for BCG เพื่อมอบแนวทางการปฏิบัติโครงการฯแก่อาจารย์ประจำตำบลทุกท่าน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการบริหารโครงการฯ เฉกเช่นเดียวกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

 

วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2565   อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ประชุมชี้แจงแผนการปฏิบัติงานเดือนกรกฎาคมในเรื่องการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตำบล

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565ทางคณะอาจารย์และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่บ้านโคกพลวงเพื่อได้ปรึกษาและได้พูดคุยถึงการออกผลิตภัณฑ์กับการต่อยอดกับผลิตภัณฑ์ของตำบลพื้นที่ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในพื้นที่ที่มีภูมิปัญญาที่หลากหลาย เช่น   ภูมิปัญญาการจักสานจากไม้ไผ่  ภูมิปัญญาการสานหมวกจากต้นไหล ภูมิปัญญาการสานกระเป๋า เป็นต้น  ผลิตภัณฑ์จักสานบางประเภทยังไม่มีการรวมกลุ่ม หรือแม้มีการรวมกลุ่มแล้ว ยังมีปัญหาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดความหลากหลาย รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดเป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่น และปัญหาการตลาดในการจำหน่ายสินค้าที่ยังไม่กว้างขวาง และที่สำคัญผู้ดำเนินการสร้างสรรค์ส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้สูงอายุยังไม่มีการสืบทอดภูมิปัญญาให้กับเยาวชนภายในชุมชน

 

 

 

 

 

 

กกไหล หรือ ต้นไหล บ้างเรียกว่า กกราชินีเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี ขนาด 1 – 2 เมตร ชอบขึ้นในดินเหนียวที่ชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูงจนถึงน้ำลึก 60 เซนติเมตร ใบแผ่ออกเป็นแฉกตรงไม่ห้อยลู่ลง นำกกไหลมาทำผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เสื่อพับ เสื่อปูนั่ง ที่รองจาน ที่รองแก้ว รองเท้า หมอนอิง กระเป๋า ที่ใส่ไม้จิ้มฟัน ที่ใส่กระดาษทิชชู่

 

ลักษณะของต้นกกต้นกกมีลักษณะเหมือนหญ้า แต่กกจะมีลำต้นเป็นทรงสามเหลี่ยมหรือสามมุม ดอกจะมีลักษณะเป็นฝอยๆ ลำต้นจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ต้นกกมักจะเกิดในที่ชื้นแฉะ ขึ้นตามหนอง บึง

 

 

 

ลักษณะของต้นไหลไหลเป็นไม้ล้มลุก มีลักษณะเป็นทรงกลม แตกกอ ลำต้นเหนียว ใบแผ่ออกเป็นแฉกตรง ไม่ห้อยลู่เหมือนกก เป็นไม้ที่ชอบแดด นิยมปลูกในดินที่ชื้น ส่วนมากชาวบ้านจะปลูกไว้ข้างบ้านของตัวเอง เวลาจะใช้งานก็จะสะดวก

ที่มา:https://kaset.today

      ประโยชน์ของต้นไหล

  1. ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม และปูลาดตามพื้นโบสถ์วิหาร เพื่อความสวยงาม
  2. ทำเป็นกระเป๋า แทนกระเป๋าหนัง ทำเป็นรูปต่าง ๆ ได้หลายแบบ แล้วแต่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบบต่าง ๆ กัน ทำเป็นกระเป๋าสตางค์ ทำเป็นกระเป๋าหิ้วสตรี กระเป๋าใส่เอกสาร แต่ปัจจุบันมีผู้ทำกันน้อย เพราะกระเป๋าหนัง กระเป๋าพลาสติก ราคาถูกลงมากการทำไม่ค่อยคุ้มค่าแรงงาน
  3. ทำเป็นหมอน เช่น หมอนรองที่นั่ง หมอนพิงพนักเก้าอี้ เรียกว่า หมอนเสื่อ

4.งานฝีมือ เช่น สานกระติบข้าว กล่อง กระจาดใส่ผลไม้

  1. ทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว ตามร้านค้าทั่วไปนิยมใช้ เพราะราคาถูกมาก
  2. ทำเป็นหมวก ใช้กันแดด กันความร้อนจากแสงแดด กันฝน หรือเพื่อความสวยงาม
  3. การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับริมสระน้ำในสวน หรือปลูกในภาชนะร่วมกับไม้น้ำอื่น
  4. เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน และต้นไหลมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย ปรับสมดุล

ใช้เป็นยารักษาโรค – ใบ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล– ต้น รสเย็นจืด ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี – ดอก รสฝาดเย็น ต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก– เหง้า รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ละลายน้ำร้อนดื่ม บำรุงธาตุ

ผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นกกของตำบลหนองโบสถ์ 

และทางผู้นำชุมชนได้นำเสนอ การทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ขึ้นโดยเห็นว่าที่หมู่บ้านได้มีกลุ่มทำปุ๋ยหมักอยู่และมีเศษใบไม้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จึงได้ออกไอเดียการทำปุ๋ยหมักใบสะเดาที่สวนคุณป้าไวขึ้นมา

ปุ๋ยหมักจากใบสะเดา

  สะเดาเป็นพืชที่ให้คุณประโยชน์หลายอย่าง เป็นอาหารของเราก็ได้ ลำต้นก็สามารถนำมาก่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยได้ ในใบและเมล็ดของสะเดาก็จะมีสารที่เรียกว่าอาซาดิเรซติน ซึ่งจะมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง แต่ต้องมีส่วนผสมที่ถูกต้องด้วยถึงจะออกฤทธิ์ได้ดี  ส่วนในเมล็ดจะใช้เป็นสีย้อมผ้า และยังสามารถฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยงได้อีก

ปุ๋ยหมักชีวภาพใบสะเดาเร่งดอกไล่แมลง

วัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพจากใบสะเดา

1.ใบสะเดา  3  กิโลกรัม

2.เหล้าขาว

3.น้ำ  50  ลิตร

4.ภาชนะมีฝาปิด

หากต้องการทำเยอะกว่านี้ก็เพิ่มในอัตราส่วนกันไปเลยจ้า

ขั้นตอนการทำ    ให้นำใบสะเดาที่เตรียมไว้มาตำให้แหลกแล้วนำเหล้าขาวมาแช่ ให้เทเหล้าขาวจนท่วมปิดฝา และทิ้งไว้แบบนั้น 21 วัน  เมื่อครบกำหนดจากนั้นให้เติมน้ำตามลงไป 50 ลิตร  ทิ้งไว้อีก 10 วัน เพียงเท่านี้เราก็จะได้น้ำหมักชีวภาพจากใบสะเดาที่พร้อมใช้งานกันแล้ว                                                                                                                                                                              วิธีการใช้งานให้นำไปฉีดพ่นในอัตราส่วน 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร  โดยให้ฉีดพ่นทุกๆ 7 วันก่อนออกดอก 1 เดือน เท่านี้ก็ก็จะสามารถไล่แมลงและเป็นการเร่งดอกไปในตัวอีกด้วย

ชื่อเรื่องโครงการของตำบลหนองโบสถ์
1. Creating Value-Added Product: Fermented Leaf Fertilizers,Ban Kok Phluang Village
การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักใบไม้ชุมชนบ้านโคกพลวง
2. Creating Value-Added Product: Hand-Woven Straw Hat from Umbrella Palm Plants
การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หมวกสานจากต้นไหล

สาขาพลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ BCG สามารถสร้างรายได้ให้กลับชุมชนบ้านโคกพลวง
-การแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง
ปุ๋ยหมักใบไม้
ผลิตภัณฑ์/บริการที่กำลังพัฒนาหรือจำหน่าย
ชุมชนบ้านโคกพลวงเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกและอนุรักษ์ป่า โดยมีป้าทองม้วน รังพงษ์ เป็นต้นแบบ ต้นไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่ ต้นสะเดา ต้นไผ่ ไม้แดง ไม้สัก เป็นต้น ซึ่งคณะผู้จัดทำคิดว่า ใบไม้ที่ทับถมกันสามารถนำมาสร้างมูลค่าโดยการทำเป็นปุ๋ยหมักใบไม้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หมวกสานจากต้นไหล
ต้นไหลเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นหมวกเพื่อการสวมใส่และสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและบุคคลที่สนใจผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน

และในการลงพื้นที่ครั้งนี้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานและทางอาจารย์ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการในครั้งนี้ว่าทางเราได้เลือก การจักสาน หมวกจากต้นกกและการทำปุ๋ยหมักใบไม้จากต้นสะเดาเพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน นอกจากการทำเกษตรกรรมด้วยอีกทางหนึ่ง